Page 102 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 102
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๗๔
ไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบหรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ในขณะนั้น นอกจากนี้ ตามระเบียบ
ราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการนั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะและ
ต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๗ ก าหนดให้คดีที่จ าเลยให้การต่อสู้ ให้ศาลก าหนดนัดชี้สองสถานเพื่อ
ก าหนดประเด็นในคดี และเพื่อที่จะทราบข้อมูลเกี่ยวกับพยานหลักฐานทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการ
ก าหนดจ านวนพยาน การก าหนดเวลาที่จะใช้ในการสืบพยาน ปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับ
การน าพยานมาศาล การหาช่องทางให้คู่ความตกลงเกี่ยวกับการพิจารณาคดีโดยวิธีอื่นแทน
การสืบพยาน การหาลู่ทางไกล่เกลี่ยหรือให้คู่ความประนีประนอมยอมความกัน และการให้
คู่ความรับข้อเท็จจริงในบางเรื่อง หรือสละประเด็นที่ไม่ส าคัญ
ข้อสังเกต
๑. การสอบถามข้อเท็จจริงนี้เป็นการด าเนินกระบวนพิจารณา เพื่อให้การก าหนด
ประเด็นข้อพิพาทเป็นไปโดยรวบรัดขึ้น และเป็นการตัดประเด็นข้อพิพาทที่ฟุ่มเฟือยหรือ
ไม่จ าเป็นออกไป
๒. เมื่อศาลสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความฝ่ายใด คู่ความนั้นมีหน้าที่ต้องตอบ
ค าถาม หากไม่ยอมตอบหรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่าเป็นการ
ยอมรับข้อเท็จจริงนั้น ไม่จ าต้องก าหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท
๓. การสอบถามข้อเท็จจริงดังกล่าวมานี้เป็นเรื่องที่ศาลพึงกระท าเพราะอาจตัด
ประเด็นข้อพิพาทได้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งจะท าให้การพิจารณาคดีง่ายขึ้นและท าให้คดีเสร็จ
ไปโดยรวดเร็ว เพราะคู่ความไม่จ าต้องน าพยานหลักฐานมาสืบในข้อเท็จจริงที่รับกันแล้วอีก
๔. การซักถามดังกล่าวนี้ ศาลไม่ควรท าในลักษณะรวบรัดหรือท านองบีบบังคับ
ควรให้โอกาสคู่ความตามสมควร เพราะอาจถูกครหาว่าแพ้คดีเนื่องจากถูกศาลบีบบังคับ
๕. การที่คู่ความแถลงหรือแถลงตอบค าถามของศาลไม่อาจตั้งประเด็นข้อพิพาทขึ้น
ใหม่ให้นอกเหนือจากค าฟ้องและค าให้การที่มีอยู่ได้ (ฎีกาที่ ๘๖๒/๒๕๑๐, ๖๕๒/๒๕๔๑)
๒.๒ การก าหนดประเด็นข้อพิพาท
๒.๒.๑ การก าหนดประเด็นข้อพิพาทโดยคู่ความตกลงกัน
ตามมาตรา ๑๘๒ วรรคท้าย ถ้าคู่ความได้ตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาท
ก็อาจยื่นค าแถลงร่วมกันต่อศาลก าหนดประเด็นข้อพิพาท แล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปตามนั้น
ถ้าศาลเห็นว่าไม่ถูกต้องก็มีอ านาจสั่งยกค าแถลงนั้นเสียแล้วด าเนินการชี้สองสถานไปตาม
มาตรา ๑๘๓