Page 32 - ลง E book - สำเนา
P. 32
รูปที่ 11 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการช ารุดและช่วงระยะเวลาการใช้งานเครื่องจักร
(ที่มา : ศิริพร วันฟั่น. 2561. เข้าถึงได้จาก : http://www.thailandindustry.com)
จากรูป เราสามารถพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการช ารุดและช่วงระยะเวลาการใช้
งานเครื่องจักรได้ดังนี้ คือ
(A) ระยะเริ่มการใช้งานใหม่ ๆ (Early Failure Period or Run in Period) กล่าวคือ ใน
ระยะแรกเริ่มในการใช้งานเครื่องจักรใหม่ จะพบว่าอัตราการช ารุดมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้สูงมาก
เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การใช้วัสดุไม่ถูกต้อง การออกแบบไม่เหมาะสม หรือการควบคุม
คุณภาพไม่ดีพอ เป็นต้น
(B) ระยะคงตัว (Life Time Period or Useful Period) คือ เมื่อผ่านการใช้งานเครื่องจักรใน
ระยะแรก (A) ไปแล้ว หรือเป็นช่วงที่มีการปรับแต่ง หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่มีคุณภาพดีขึ้นมาแล้ว อัตรา
การช ารุดก็จะไม่ค่อยมี แต่ในบางโอกาสก็อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนงานบ ารุงรักษา โดยพบว่า
จะคงอยู่ในสภาพเช่นนั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
(C) ช่วงระยะเวลาเสื่อมคุณภาพ (Wearout Period) คือ เมื่อผ่านช่วงระยะคงตัว (B) มาแล้ว
อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจะเริ่มเสื่อมคุณภาพ เช่น สึกหรอ หรือสึกกร่อน ดังนั้นเมื่อมีการ
เสื่อมสภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลท าให้อัตราการช ารุดของเครื่องจักรมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
เมื่อทราบอัตราการช ารุดของเครื่องจักรตามช่วงระยะเวลาการใช้งาน (A), (B), (C) ก็จะท าให้
ทราบจุดที่เครื่องจักรเริ่มเสื่อมสภาพ ซึ่งสามารถน าข้อมูลที่ได้มาวางแผนงานซ่อมบ ารุงรักษาต่อไป
2. การเสื่อมสภาพแบบกะทันหัน (Catastrophic) การช ารุดเสื่อมสภาพของเครื่องจักรแบบนี้
มักจะไม่ส่งสัญญาณหรืออาการแสดงออกมาให้เห็น โดยอาจมองว่าประสิทธิภาพยังไม่หย่อนลงไป แต่
จะทราบเหตุการณ์ก็ต่อเมื่อเครื่องจักรหยุดท างานแล้ว เช่น อุปกรณ์ภายในช ารุด แตกหัก หรือ
สายพานขาด เพลาหัก หรือเกิดอุบัติเหตุจนเครื่องจักรเกิดความเสียหาย เป็นต้น