Page 28 - ลง E book - สำเนา
P. 28
รูปที่ 7 แสดงลักษณะการสึกหรอแบบขูดขีด
(ที่มา : สุรพล ราษร์นุ้ย. 2545 : 37)
การเร่งให้เกิดการสึกหรอประเภทนี้ คือ การใช้สารหล่อลื่นที่สกปรก การชุบแข็งคู่ผิวสัมผัสที่
มีความแข็งแตกต่างกันมากเกินไป
3. การสึกหรอจากการล้าตัวของวัสดุ เป็นการล้าตัวและเกิดรอยแตก หรือหลุมบนผิวหน้า
วัสดุ บริเวณที่มีการล้าตัว ทั้งนี้ เนื่องมาจากว่า ชิ้นงานมีการรับภาระเป็นวงรอบ การล้าตัวของวัสดุจะ
มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก หากชิ้นงานรับภาระเพียงการกด หรือการดึงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะมี
โอกาสเกิดการล้าตัวได้เร็วมากๆ หากมีการรับภาระสลับกันไปมา ระหว่างการกดกับแรงดึง หรือการ
รับภาระแบบเป็นวงรอบ ซึ่งเส้นทางที่สุด จะส่งผลให้ผิววัสดุหลุดร่อนออกไป และท าให้มีรอยสึก
หลงเหลือไว้บนผิวชิ้นงาน ลักษณะการเกิดการล้าตัวอีกแบบหนึ่ง เกิดจากการมีสิ่งสกปรกในสารหล่อ
ลื่น ในท าให้เกิดรอยกดขึ้นบนผิวชิ้นงานก่อน และเมื่อใช้งานไปนานๆ รอยกดจะค่อยๆ แพร่กระจาย
ออกไปเป็นรอยแตก เนื่องจากน้ ามันหล่อลื่นเข้าไปอยู่ในรอยกดนั้น ครั้งแล้วครั้งเล่า และเกิดเป็นหลุม
ในที่สุดดังแสดงในรูปที่ 8