Page 24 - ลง E book - สำเนา
P. 24
เช่น การหล่อลื่น การท าความสะอาด การขันแน่น เป็นต้น ต้องท าการซ่อมส่วนที่แตกหักเสียหาย
หรือช ารุด ให้กลับคืนสภาพดีดังเดิม และรวมไปถึงการหาสาเหตุของการแตกหักเสียหายที่เกิดขึ้นให้ได้
เพื่อด าเนินการแก้ไขที่ต้นเหตุ การช ารุดนั้น ๆ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก 6 ประการต่อไปนี้
1. ออกแบบมาผิด
2. วัสดุที่เลือกใช้มีจุดบกพร่อง
3. เทคโนโลยีการผลิตหรือประกอบไม่ดีพอ
4. จะขาดการใช้งานที่ถูกต้อง
5. ขาดการบ ารุงรักษาที่ดี
6. ขาดกลางควบคุมสภาพสิ่งแวดล้อม
โดยความเป็นจริงแล้ว ประเทศผู้น าด้านเทคโนโลยีทุกประเทศ มักมุ่งความสนใจไปที่การ
บ ารุงรักษาชิ้นส่วนเครื่องจักร แทนที่จะมุ่งไปที่การซ่อมเครื่องจักรหลังเกิดการช ารุด และมักจะเน้นไป
ที่การป้องกันการสึกหรอเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ เพราะการแตกหักเสียหายมาเกิดจาก 2 ส่วนดังที่กล่าว
ข้างต้น คือ จากการเสื่อมสภาพตามเวลา (การสึกหรอ) กับการเสื่อมที่ไม่ขึ้นกับเวลา (การแตกหัก) ใน
ส่วนหลังนี้ หากสามารถใช้เครื่องจักรให้ถูกต้อง และป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากผู้ใช้และ
อุบัติเหตุแล้ว โอกาสที่เกิดการเสื่อมในข้อหลังนี้ จะมีโอกาสน้อยมาก (มีสัจพจน์อยู่ข้อหนึ่งกล่าวไว้ว่า
“ส่วนใหญ่แล้วเครื่องจักรไม่ได้ท าให้ตัวมันเองช ารุด แต่คนต่างหากที่ท าให้เครื่องจักรช ารุด” เช่น การ
ใช้ผิดวิธี ไม่ดูแลรักษา ไม่ติดตั้งให้ถูกต้อง และไม่ควบคุมสภาวะสิ่งแวดล้อม เป็นต้น)
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้ว ควรมุ่งจุดสนใจไปที่การป้องกันการสึกหรอ หรือการ
เสื่อมสภาพ โดยตั้งสมมติฐานว่า ใช้เครื่องจักรถูกต้องตามขั้นตอน และไม่มีอุบัติเหตุ โดยเฉพาะจาก
ธรรมชาติ เช่น น้ าท่วม ฟ้าผ่า และไฟไหม้ เป็นต้น ในการป้องกันการสึกหรอ จ าเป็นที่วิศวกรการ
บ ารุงรักษาต้องเข้าใจเสียก่อนว่า การสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องจักร มีรูปแบบ หรือกลไกการสึกหรอ
อย่างใดบ้าง จากวิชาไทรโบโลยีเสียก่อน แล้วจึงจะสามารถหาแนวทางการด าเนินการ ในการป้องกัน
การเสื่อมสภาพได้ตามมาตรฐานด้านอุตสาหกรรมของประเทศเยอรมันหมายเลข 50320 (DIN
50320) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า แบ่งกลไกการสึกหรอไว้อย่างเหมาะสม 4 รูปแบบดังรูปที่ 4