Page 25 - ลง E book - สำเนา
P. 25

ก.กลไกการสึกหรอแบบยึดติด                  ข.กลไกการสึกหรอแบบขูดขีด

                                    ค.กลไกการสึกหรอแบบไทรโบเคมีคอล      ง.กลไกการสึกหรอแบบล้าตัว
                                                รูปที่ 4 แสดงกลไกการสึกหรอแบบต่างๆ
                                                 (ที่มา : สุรพล ราษร์นุ้ย. 2545 : 34)


                              ก่อนที่จะกล่าวถึงกลไกการสึกหรอ จะอธิบายโดยสังเขปว่า เพราะเหตุใดจึงเกิดการสึกหรอ
                       ขึ้น ทั้งๆ ที่มีบางคนแย้งว่า เครื่องจักรหรือชิ้นส่วนเครื่องจักร ไม่ควรเกิดการสึกหรอ เพราะไม่ได้ใช้
                       งานให้ภาระหรือความเค้นที่มากเกินไปกว่าค่าความแข็งแรงของวัสดุ ซึ่งก็คือ วิศวกรออกแบบไว้ให้มี
                       ค่าปัจจัยความปลอดภัย (ความแข็งแรง/ความเค้น > 1) แต่สุดท้ายชิ้นส่วนก็ยังสึกหรอ และแตกหัก

                       ตามระยะเวลา เหตุผลที่สามารถอธิบายได้คือ การที่วิศวกรออกแบบค านวณค่าความเค้น (Stress) ไว้
                       คือ
                                            ความเค้น       =      แรงที่กระท า

                                                               พื้นที่รับแรงกระท า

                              โดยที่พื้นที่รับแรงกระท าที่ใช้ จะเป็นการใช้ค่าพื้นที่รับแรงกระท า ที่เรามองเห็นหรือวัดได้แต่
                       ที่จริงแล้ว พื้นที่รับแรงดังกล่าว อยู่บนสมมติฐานว่า พื้นผิวชิ้นงานมีความเรียบ และรับภาระเป็น

                       หน้าสัมผัส หากทว่า ในระดับจุลภาคแล้ว มนุษย์ยังไม่สามารถท าให้เกิดความเรียบของผิวดังกล่าวได้
                       ดังแสดงในรูปที่ 5
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30