Page 30 - ลง E book - สำเนา
P. 30
ระบบนิวแมติกส์ โดยหากของไหลดังกล่าว มีสิ่งสกปรกปะปนอยู่ ก็จะท าให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ เกิดการ
สึกหรอได้อย่างรวดเร็วมาก ซึ่งตัวอย่างง่ายที่สุดของการสึกหรอแบบนี้ ดังส่วนหนึ่งของเนื้อเพลงที่ว่า
“…น้ าหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน แต่หัวใจอ่อนๆของเธอท าด้วยสิ่งใด...” น้ า
คือ ของ
ไหล หิน คือ วัสดุ ที่ถูกปะทะ แม่ด้วยน้ าหนักของน้ าที่เกิดจากแนวโน้มถ่วงของโลก เท่านั้นก็ยังท าให้
หินกร่อนได้ ในลักษณะนี้เราเรียกว่า การปะทะจากการหยดตัว (Drop - erosion) ดังนั้น หากของ
ไหลดังกล่าว อยู่ภายใต้แรงดันและมีความเร็วสูง ก็จะยิ่งสึกหรอได้เร็วมากกว่า การหยุดของน้ า
หลายเท่าตัว ลักษณะการสึกหรอแบบพ่นปะทะดังแสดงในรูปที่ 9
รูปที่ 9 แสดงลักษณะการสึกหรอแบบพ่นปะทะในวาล์วควบคุมทิศทางในระบบไฮดรอลิก/นิวแมติก
(ที่มา : สุรพล ราษร์นุ้ย. 2545 : 39)
การสึกหรอ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็อาจจะมีการสึกหรอแบบโพรงอากาศในระบบไฮดรอ
ลิก การเกิดคาวิเตชั่นที่มีผลร้ายมากๆ มักจะเกิดในระบบไฮดรอลิก ซึ่งโพรงอากาศที่เกิดขึ้น อาจจะ
เกิดจากการลดแรงดันของของไหลที่รวดเร็วมากเกินไป เช่น ท่อลดขนาดข้องอ เป็นต้น ก็จะท าให้เกิด
การไหลแบบไม่ราบเรียบ หรืออาจจะเกิดจากการที่ ระดับน้ ามันไฮดรอลิกต่ าเกินไป ท่อทางดูดมีรอย
รั่ว สารปรุงแต่งต่อต้านการเกิดฟอง (Anti - Foam) ในน้ ามันไฮดรอลิคเสื่อมสภาพ ถังพัก ไม่มีแผ่น
กั้น นอกจากนี้ อาจมาจากสาเหตุใดก็ตาม เมื่อเกิดฟองอากาศขึ้น เนื่องจากอากาศเป็นของไหลที่อัด
ตัวได้ง่ายกว่าน้ ามันไฮดรอลิก จึงท าให้ปั๊มน้ ามันไฮดรอลิคจะอัดอากาศ แทนการอัดน้ ามันให้มีแรงดัน
ดังนั้น ในขณะที่อัดอากาศจากฟองอากาศให้เล็กลงจนผสมกับน้ ามันไฮดรอลิก จะท าให้เกิดเสียงดังที่
ปั๊มและท าให้ระบบไฮดรอลิกไม่ท างาน เพราะไม่มีแรงดันเกิดขึ้น จึงมักจะพบได้เสมอๆ ว่าหาก