Page 108 - การวิจัยทางการศึกษา
P. 108
107
• เลือกใช้ภาพที่เหมาะสมสื่อความหมายแก่ผู้ฟัง อย่ามากเกินความจ าเป็น ภาพที่
น ามาใช้ประกอบ ควรเป็นแนวนอนจะเหมาะสมกว่าแนวตั้ง เว้นช่องว่างรอบภาพให้มากๆ
และควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 50 มิลลิเมตร
• สามารถใช้ตารางหรือกราฟช่วยแสดงข้อมูล ซึ่งจะท าให้ประหยัดเวลาและช่วย
ให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
• สื่อน าเสนอที่ดีนั้นจะต้องมีจุดเด่นที่น่าสนใจสามารถดึงดูดสายตาผู้ดูได้ จุดเด่น
นี้ได้จากการใช้ ขนาดของอักษรที่ใหญ่ให้เด่นจากข้อความอื่นๆ หรือใช้สีที่แตกต่างออกไป
รวมถึงการเลือกใช้ Effect ที่เหมาะสมประกอบการน าเสนอ หรือใช้เทคนิคการออกแบบ
ภาพที่เหมาะสม เช่นเอียงภาพหรือข้อความแล้วไปวางที่มุมใดมุมหนึ่ง
• เลือกลักษณะ Background ให้เหมาะสม ไม่ต้องจัดจ้านหรือเป็นสีสะท้อน
หลักการคือ พื้นหลังสีทึบ ควรใช้กับตัวอักษรสีสว่าง ถ้าพื้นหลังมีสีสว่าง ควรใช้กับตัวอักษร
ทึบ ไม่ควรใช้ตัวอักษรที่สีกลืนไปกับพื้น และใช้สีไม่เกิน 4 สี ตลอดการน าเสนอ
• หลีกเลี่ยงการออกแบบที่เป็นแฟนซี หรือ clip art น่ารัก
• การฉายสไลด์แต่ละหน้า ควรอยู่บนจอนาน 40-60 วินาที ซึ่งเป็นเวลาที่ผู้ชม
สามารถท าความเข้าใจกับภาพได้พอเหมาะ ไม่เบื่อตาเกินไป เพราะโดยปกติความสนใจ
ของผู้ชมจะอยู่ในช่วง 18 นาทีแรกเท่านั้น ควรเตรียมสิ่งอื่นมากระตุ้นความสนใจของผู้ฟัง
ด้วย
• โดยปกติการน าเสนอในเวลา 20 นาที ควรมี 15-20 เฟรม
5) โปสเตอร์(Poster) โปสเตอร์เป็นสื่อประเภทไม่มีการเคลื่อนไหว ท าด้วย
กระดาษแข็งหรือไม้ ปัจจุบันมักใช้ vinyl เนื่องจากมีน้ าหนักเบา และทนทานกว่า การ
น าเสนอโดยโปสเตอร์มักใช้ในการน าเสนอผลงานวิจัย โดยให้โปสเตอร์ท าหน้าที่บอก
รายละเอียดของผลงานวิจัย และมีนักวิจัยมีรออยู่ใกล้ๆ โปสเตอร์เพื่อคอยตอบค าถามหรือ
ให้ค าอธิบายเพิ่มเติมแก่ผู้ชม
หลักกำรออกแบบโปสเตอร์ มีดังนี้ (นงลักษณ์ วิรัชชัย, ม.ป.ป ;Rowe &
Ilic,2011)
• ขนาดของโปสเตอร์ โดยปกติ มีขนาดประมาณ 1 X .50 ตารางเมตร