Page 105 - การวิจัยทางการศึกษา
P. 105
104
• น้ าเสียง ต้องใช้น้ าเสียงในการน าเสนอให้น่าฟังเช่น น้ าเสียงกังวาลแต่ไม่
กระโชกโฮกฮาก เปลี่ยนระดับน้ าเสียงเป็นช่วงๆ ให้ดังบ้าง เบาบ้าง ไม่ให้เป็นระดับเดียวกัน
ตลอดจนชวนง่วง เน้นเสียงหนักที่เป็นสาระส าคัญหรือจุดส าคัญ พูดไม่ติดตะกุกตะกัก พูด
ให้ดังพอฟังให้ชัด เว้นวรรคตอนและจังหวะพอฟังง่าย ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป
• การมอง การมองเป็นการบ่งบอกท่าทีและทัศนคติทางบวกหรือลบของผู้
น าเสนอ การมองจึงมีความส าคัญอย่างมาก โดยควรมองแบบให้เกียรติทุกคน กวาดสายตา
ให้ทั่วถึง และมองด้วยความชื่นชมยินดี
• อารมณ์ ในการน าเสนอผู้น าเสนอต้องเป็นผู้มีอารมณ์ดี แจ่มใส เบิกบาน ไม่
ขุ่นมัว
• ไหวพริบ ผู้น าเสนอต้องมีไหวพริบที่สามารถจับประเด็นค าถามได้ ตอบค าถาม
ที่ซับซ้อนวกวนได้ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและหาทางออกได้อย่างราบรื่น
นอกจำกนี้ บุญเลิศ อรุณพิบูลย์(มปป) ได้กล่ำวถึงข้อควรค านึงในการเตรียมตัว
ในการน าเสนอผลงานต่างๆ ในที่สาธารณะ หรือต่อผู้ฟังจ านวนมาก ดังนี้
• ควรไปถึงสถานที่บรรยายก่อนเวลาอันควร
• ควรตรวจสอบสถานที่และอุปกรณ์ก่อนน าเสนอล่วงหน้า
• ไม่แสดงภาพใดๆ จนกว่าจะพร้อมที่จะพูดประโยคแรก ทั้งก่อนและขณะ
น าเสนอ
• ไม่ควรเปิดๆ ปิดๆไฟภายในห้องขณะน าเสนอ
• ขณะน าเสนอถ้ามีการใช้แสงน าทาง หรือแสงเลเซอร์ ห้ามแกว่งด้ามชี้แสง
เลเซอร์ ห้ามหมุนแสงเลเซอร์รอบค า ห้ามลากแสงเลเซอร์จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ให้ใช้
วิธีการชี้ค้างไว้ และระวังอาการสั่นของมือ หากไม่สามารถควบคุมอาการสั่นได้ ให้ใช้
เมาส์ หรือใช้ประโยคแทน เช่น “คุณจะเห็น...ชัดเจนที่มุมขวาบนของสไลด์รูปนี้” เป็นต้น
• ให้ความส าคัญกับผู้ฟังมากกว่าภาพ
• ให้ความส าคัญกับเนื้อหาที่น าเสนอทีละจุด
• เมื่อน าเสนอเสร็จ แล้วปิดสื่อน าเสนอก่อน แล้วจึงเข้าสู่ส่วนซักถามข้อสงสัย