Page 62 - การวิจัยทางการศึกษา
P. 62
61
เนื่องจากต้องใช้กลุ่ม Try Out เป็นจ านวนมากในการวิเคราะห์และต้องใช้คอมพิวเตอร์ใน
การวิเคราะห์
1.3 ความเที่ยงตรงตามสภาพจริง (Concurrent Validity) เป็นการ
ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสถานที่เป็นจริง เช่น ทดสอบการมีคุณธรรมจริยธรรมของ
นักเรียนด้วยแบบทดสอบแล้วนักเรียนได้คะแนนสูง เมื่อถ้าสังเกตสภาพการด ารงชีวิตหรือ
นิสัยของนักเรียนก็พบว่านักเรียนเป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรมสูงจริง นั้นแสดงว่า
แบบทดสอบดังกล่าวมีความเที่ยงตรงตามสภาพจริง
1.4 ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive Validity) เป็นลักษณะ
ของเครื่องมือที่มีความสอดคล้องระหว่างผลที่ได้จากการวัดและสิ่งที่คาดการณ์ไว้ เช่น
นักเรียนที่ท าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ได้คะแนนสูง แสดงว่าต้องสามารถที่จะ
เรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ หากนักเรียนคนนั้นไม่สามารถที่จะเรียนในคณะ
วิศวกรรมศาสตร์ได้ แสดงว่าเครื่องมือที่ใช้นั้นมีความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ต่ าหรือในการ
ส ารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการเลือกเรียนโรงเรียนอนุบาลตามแนวพุทธ
หากแบบส ารวจออกมาว่าประชาชนมีความต้องการสูง เมื่อเข้าโรงเรียนอนุบาลจริงก็จะมี
ประชาชนส่งบุตรเรียนจ านวนมาก แสดงว่าเครื่องมือที่ใช้ในการสอบถามมีความเที่ยงตรง
เชิงพยากรณ์สูงจริง ดังนั้น การสร้างเครื่องมือดังกล่าวจึงต้องมีข้อค าถามที่เป็นตัวเร้า
คุณลักษณะที่แท้จริงออกมาให้ได้
2. ควำมเชื่อมั่นของเครื่องมือ
ความเชื่อมั่น หมายถึง ความคงเส้นคงวาของการวัด โดยที่เมื่อเราน า
เครื่องมือไปวัดกี่ครั้งก็ตามค่าที่ได้จะมีค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันทุกครั้ง แสดงว่าเครื่องมือที่
เราใช้มีความเชื่อมั่นสูง เช่น น าแบบวัดทัศนคติต่อการให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ไปสอบวัดครั้งแรกนางสาวฤดี ได้คะแนน 26 หลังจากนั้น
อีก 1 สัปดาห์น าแบบวัดชุดเดิมไปวัดซ้ า นางสาวฤดี ก็ยังได้คะแนน 26 คะแนน เท่าเดิม
แสดงว่าแบบวัดนั้นมีความเชื่อมั่นสูง วิธีการในการหาค่าความเชื่อมั่นมีหลายวิธี เช่น การ
ทดสอบซ้ า แบบการใช้แบบทดสอบคู่ขนาน การแบ่งครึ่งข้อสอบ วิธีของครอนบาค อัลฟา
และวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน หรือที่เรียกว่า KR , KR
21
20
วิธีการหาความเชื่อมั่น