Page 61 - การวิจัยทางการศึกษา
P. 61

60

                          1.    การตรวจสอบความสอดคล้องของข้อสอบกับมวลพฤติกรรมที่ข้อสอบ

               ฉบับนั้นต้องการวัด
                          2.    การตรวจสอบสัดส่วนของจ านวนข้อค าถามในแต่ละพฤติกรรมกับตาราง
               วิเคราะห์หลักสูตรตามรายวิชา

                          3.    การตรวจสอบ โดยใช้ดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รอบรู้เฉพาะเรื่อง

               สามารถท าได้ 3 วิธี ได้แก่
                              วิธีที่ 1 หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อค าถามกับลักษณะเฉพาะ
               ของกลุ่มพฤติกรรมหรือหาค่า IOC โดยผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยต้องมี 3 คน ใช้วิธีการเดียวกับ

               การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

                              วิธีที่ 2 หาค่าดัชนีความเหมาะสมการร่างข้อค าถามกับลักษณะเฉพาะ
               ของกลุ่มพฤติกรรม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5
               ระดับ ลักษณะของคะแนนก็ใส่ล าดับตั้งแต่ 5 ซึ่งหมายถึงมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างมาก

               ที่สุดไปจนถึง 1 คือ ข้อความที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างน้อยที่สุด น าค่าคะแนนหา

               ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อที่ใช้ได้ คือ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป และ
               ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 1.00 กับที่ไม่ได้เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าวก็อยู่ใน
               ดุลยพินิจว่าจะตัดทิ้งหรือปรับปรุงแก้ไข

                            วิธีที่ 3 ตรวจสอบคะแนนรายข้อสอบทั้งฉบับ โดยใช้สถิติ Rxy หากค าถาม

               ใดมีค่าสหสัมพันธ์กับคะแนนรวมสูงแสดงว่าข้อค าถามดังกล่าวมีความเที่ยงตรงเชิง
               โครงสร้างสูง
                            วิธีที่ 4   การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของเครื่องมือที่สร้างขั้นกันระหว่างกลุ่ม

               ตัวอย่างที่มีลักษณะตรงกับคุณลักษณะที่ต้องการศึกษากับผลการวัดจากกลุ่มที่ไม่มี

               คุณลักษณะตรงตามที่ศึกษา โดยใช้สถิติ t – test แบบ Independent โดยค่าที่ใช้ได้ คือ
               ค่า t – test ตามระดับนัยส าคัญที่ก าหนดไว้ซึ่งก็ไม่ควรจะมากกว่า .05
                            วิธีที่ 5 หาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือที่สร้างขึ้นกับแบบทดสอบ

               มาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ โดยต้องเป็นแบบทดสอบที่รับกับคุณลักษณะหรือมีลักษณะ

               โครงสร้างสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการวัด โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
               (Rxy)
                            วิธีที่ 6 การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factors Analysis) เป็นวิธีที่จะท าให้

               ได้ข้อสอบที่ตรวจตามโครงสร้างจริง ๆ และเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือ แต่จะยุ่งยากในทางปฏิบัติ
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66