Page 59 - การวิจัยทางการศึกษา
P. 59
58
(3). ความจ าเพาะ เจาะจง
(4). ความเป็นปรนัย
(5). ความมีประสิทธิภาพ
1. ควำมเที่ยงตรง
ความเที่ยงตรง คือ การวัดได้ตรงกับสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการที่จะวัดนี้ คือ วัด
ได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ก าหนดไว้ซึ่งแบ่งความเที่ยงตรงออกเป็น 3 ประเภท
ได้แก่
(1). ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
(2). ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)
(3). ความเที่ยงตรงตามสถานะหรือความเที่ยงตรงตามเกณฑ์ (Criterion
– related Validity)
ความเที่ยงตรงแต่ละประเภทสามารถที่จะอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
1.1 ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เป็นการทดสอบว่า
เครื่องมือที่จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวัดพฤติกรรมได้ตรงกับเนื้อหาที่ต้องการจะวัด
หรือไม่และต้องพิจารณาความครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการจะวัดด้วย เช่น ครูต้องการวัดผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทางภาษาไทย เครื่องมือที่จะวัดต้องออกแบบให้ครอบคลุมลักษณะ
ของพฤติกรรมที่ต้องการวัด วิธีการในการตรวจสอบความเที่ยงตรงสามารถจะกระท าได้ 2
วิธี ดังนี้
1. ผู้วิจัยสามารถตรวจสอบด้วยตนเองโดยการน าไปเปรียบเทียบ
กับวัตถุประสงค์การวิจัยในกรณีของการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของข้อสอบสามารถน าไป
เปรียบเทียบกับตารางวิเคราะห์ข้อสอบหรือ Table of Specification of Test ได้
2. การตรวจสอบโดยให้ผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจ โดยปกติจะใช้
ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 3 คน หรือมากกว่า 3 คน อาจเป็น 5 คน 7 คน แต่
จะต้องใช้จ านวนผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเลขคี่ และจัดท าตาราง ดังนี้
ตารางที่ 7.1 แสดงผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเช่นเนื้อหา เรื่อง.............ของ
ผู้เชี่ยวชาญ