Page 215 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 215

ส่วนที่ ๓                                                                           หน้า ๒๐๓



                           ๑๐. การรับรองและคุ้มครองสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายอัตลักษณ์ทางเพศ

                                ๑) มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบตามเพศก าเนิด
                                ๒) สิทธิด้านสุขภาพและสิทธิการรักษาพยาบาลนอกจากจะได้รับสิทธิตามเพศก าเนิดแล้ว

               ให้มีสิทธิตามที่ก าหนดไว้ส าหรับบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วย
                                ๓) ก าหนดให้กระทรวงกลาโหมต้องออกระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการฝึก
               การประจ าการ เป็นการเฉพาะ ให้เหมาะสมกับเพศสภาพและความปลอดภัยของบุคคลผู้มีความหลากหลาย

               อัตลักษณ์ทางเพศที่มีเพศก าเนิดเป็นชาย และได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร
                                ๔) ก าหนดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของบุคคลผู้มีความหลากหลายอัตลักษณ์ทางเพศ

                                             ์
               ที่เป็นผู้ต้องขัง โดยกรมราชทัณฑจัดให้ผู้ต้องขังกลุ่มนี้อยู่ในทัณฑสถานตามเพศก าเนิด แต่ต้องจัดให้อยู่ใน
               พื้นที่พิเศษเป็นสัดส่วนเฉพาะ โดยให้ค านึงถึงความปลอดภัยและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
                                ๕) การที่บุคคลผู้มีความหลากหลายอัตลักษณ์ทางเพศได้รับการรับรองเพศและได้เปลี่ยนค า

               น าหน้านามและเพศ ไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ในฐานะบิดามารดากับบุตร
               ที่มีอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย  ์

                           ๑๑. บุคคลเพศก ากวม
                                                     ิ
                                คณะอนุกรรมาธิการได้พจารณายกร่างก าหนดหลักการเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลเพศก ากวม
               ในการเลือกเพศและการใช้ค าน าหน้านาม ดังนี้

                                ๑) การเลือกเพศให้ทารกเพศก ากวม มีหลักการ ดังนี้
                                  - หากทารกที่คลอดออกมามีเพศก ากวม ก าหนดข้อห้ามมิให้แพทย์ผ่าตัดเพอเลือกเพศ
                                                                                                   ื่
               ให้ทารกและข้อห้ามมิให้ระบุเพศทารกรายดังกล่าวในหนังสือรับรองการเกิด เว้นแต่มีความจ าเป็นต้องผ่าตัด
               เลือกเพศให้ทารกเพื่อให้ทารกนั้นมีชีวิตรอดตามที่แพทยสภาก าหนด

                                  - การแจ้งเกิดทารกเพศก ากวม ก าหนดให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน
               ราษฎรออกสูติบัตรและเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยไม่ต้องระบุเพศและค าน าหน้านาม
                                  - ก าหนดข้อห้ามมิให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองให้แพทย์ผ่าตัดเลือกเพศให้กับทารก

               เพศก ากวม เว้นแต่จะได้รับค าวินิจฉัยและข้อแนะน าจากแพทย์ว่ามีความจ าเป็นต้องผ่าตัดเลือกเพศเพื่อให้
               ทารกเพศก ากวมนั้นมีชีวิตรอด

                                  - หากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองได้รับค าวินิจฉัยและข้อแนะน าจากแพทย์แล้ว
               ไม่ยินยอมให้แพทย์ผ่าตัดเลือกเพศทารก แพทย์ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายหรือผลกระทบด้านสุขภาพ
               ที่เกิดขึ้นกับทารก

                                ๒) สิทธิในการเลือกเพศและการเลือกใช้ค าน าหน้านามของเด็กเพศก ากวม
                                  - หลักการ คือ เด็กเพศก ากวมเมื่อมีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิเลือกหรือ

               ไม่เลือกค าน าหน้านามในบัตรประจ าตัวประชาชน
                                  - กรณีเด็กเพศก ากวมมีความประสงค์เลือกค าน าหน้านามเป็น เด็กชายหรือเด็กหญิง
               อย่างใดอย่างหนึ่งในบัตรประจ าตัวประชาชน เจ้าหน้าที่ต้องออกบัตรประจ าตัวประชาชน และแก้ไขหรือ

               ระบุเพศก าเนิดในสูติบัตร และทะเบียนบ้าน ให้สอดคล้องกับค าน าหน้านามนั้น
                                  - กรณีเด็กเพศก ากวมไม่ประสงค์เลือกระบุค าน าหน้านามเป็น เด็กชายหรือเด็กหญิง

               เจ้าหน้าที่ต้องออกบัตรประจ าตัวประชาชนโดยไม่ระบุค าน าหน้านาม และไม่ต้องแก้ไขข้อมูลเพศในสูติบัตร
               และในทะเบียนบ้านของเด็กเพศก ากวมนั้น
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220