Page 210 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 210

หน้า ๑๙๘                                                                             ส่วนที่ ๓



                               พิจารณาศึกษาแนวทางรับรองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ


                           คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลาย

               ทางเพศ ได้เล็งเห็นถึงความส าคัญของภารกิจด้านผู้มีความหลากหลายทางเพศ จึงได้เดินทางไปศึกษาดูงาน
               ณ มูลนิธิซิสเตอร์ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันอังคารที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ได้รับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการส่งเสริม

               สุขภาพ สิทธิทางเพศ และสังคม รวมถึงการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งกายและใจของผู้มีความหลากหลาย
               ทางเพศ โดยผู้แทนมูลนิธิซิสเตอร์ได้น าเสนอปัญหาความเดือดร้อนของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
               และจัดท าเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายความเป็นธรรมทางเพศสภาพ  ๕ ด้าน ดังนี้

                           ๑. ด้านการรับรองเพศสภาพ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองสถานะ
               ทางเพศ รวมทั้งยังมีอคติและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนข้ามเพศ ส่งผลให้เกิดปัญหาโดยเฉพาะเรื่อง

               การออกหนังสือราชการ และการเดินทางไปต่างประเทศของกลุ่มคนข้ามเพศ
                           ๒. ด้านการศึกษา เสนอให้มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึง
                                                            ื่
               อุดมศึกษา ในด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิทางเพศ เพอให้เกิดความเคารพ ไม่ตัดสิน และให้คุณค่าบุคคลอื่น ๆ
               ที่มีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวด้วย
                           ๓. ด้านสุขภาพและสาธารณสุข เนื่องจากคนข้ามเพศไม่เคยได้รับค าปรึกษาจากแพทย์

               ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมน ศัลยแพทย์ หรือวิชาชีพอื่น ๆ เกี่ยวกับการแปลงเพศหรือการดูแลสุขภาพของกลุ่ม
               คนข้ามเพศ
                           ๔. ด้านการจ้างแรงงาน กลุ่มคนข้ามเพศเป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญกับการถูกประณามและการเหยียดเพศ

               จากสังคมในด้านการจ้างงานมากที่สุด โดยถูกปฏิเสธการรับเข้าท างานเนื่องมาจากอัตลักษณ์ทางเพศ
                           ๕. ด้านสื่อมวลชน บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มเพศภาวะที่สื่อมวลชนให้ความสนใจ

               และมีการน าเสนอข่าวเพิ่มมากขึ้น แต่มักเป็นการเสนอข่าวในเชิงล้อเลียน
                           ปัจจุบันบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องเผชิญกับปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติและการกีดกัน
               ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยการเลือกปฏิบัติที่มีปัญหาร้ายแรงมากที่สุดเกิดขึ้นในตลาดแรงงาน ได้แก่

               การถูกปฏิเสธในการเข้าท างาน การคุกคามในสถานที่ท างาน อันเนื่องมาจากอัตลักษณ์ทางเพศ ตามมาด้วย
               การเลือกปฏิบัติในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่ประสงค์จะเช่าหรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ รวมถึงปัญหา

               ในการการติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการและเอกชน การเดินทางออกนอกประเทศไทย เนื่องจาก
               ค าน าหน้านามในบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางยังไม่ตรงกับเพศสภาพ ท าให้ไม่ได้รับความสะดวก
                                        ิ่
               และต้องให้ข้อมูลส่วนตัวเพมเติมจ านวนมาก เพอเป็นการยืนยันอัตลักษณ์บุคคลให้ชัดเจน ซึ่งนับเป็น
                                                            ื่
               การละเมิดสิทธิของบุคคล
                           ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการได้เล็งเห็นถึงความส าคัญในสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวที่เกิดขึ้น

               อันเนื่องมาจากประเทศไทยยังคงไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับรองเพศสภาพของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
               ที่ชัดเจน ซึ่งท าให้เกิดการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ จึงตั้ง
                                      ิ
                                   ื่
               คณะอนุกรรมาธิการเพอพจารณาศึกษาแนวทางการคุ้มครองและรับรองสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลาย
                                                      ิ
               ทางเพศ โดยให้มีหน้าที่และอ านาจในการพจารณาศึกษาแนวทางการคุ้มครองและรับรองสิทธิของบุคคล
               ผู้มีความหลากหลายทางเพศ  คณะอนุกรรมาธิการได้พจารณาศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นต่อบุคคลผู้มี
                                                                 ิ
               ความหลากหลายทางเพศจากการที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการรับรองเพศและใช้ค าน าหน้านามตาม
               เพศสภาพของตน และได้ข้อสรุปว่า แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การเสนอให้มีกฎหมายฉบับใหม่
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215