Page 207 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 207
ส่วนที่ ๓ หน้า ๑๙๕
๓. แนวทางและคู่มือการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตของแต่ละประเทศ ควรก าหนดขึ้นโดยใช้
ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อ รวมทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ที่ดีที่สุด
์
๔. การป้องกันการติดเชื้อผ่านการให้และรับโลหิต เกณฑการรับบริจาคหรืองดรับบริจาค
จะต้องปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลด้านระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อ ตลอดจนความสามารถในการ
ตรวจคัดกรอง การตรวจยืนยัน และเทคโนโลยีการตรวจที่มีใช้ในประเทศ
๕. งานบริการโลหิตควรมีกลไกในการเฝ้าระวังและตรวจติดตามโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่อาจ
ถ่ายทอดทางโลหิต หากจ าเป็นต้องงดรับบริจาคโลหิตจากผู้บริจาคโลหิตกลุ่มที่มีแนวโน้มจะมีความเสี่ยง
จะต้องประเมินการบริหารจัดการให้มีโลหิตอย่างเพียงพอควบคู่กันไปด้วย
์
๖. เกณฑการรับบริจาคโลหิตหรืองดรับบริจาคโลหิต จะต้องมีรายละเอียดของแต่ละประเด็น
บ่งชี้โรคหรือสภาวะ อันมีเหตุผลรองรับ
๗. จะต้องจัดให้มีทรัพยากรที่เพยงพอ มีบุคลากรที่มีคุณภาพ ได้รับการฝึกอบรม เพอรองรับ
ื่
ี
การบริจาคโลหิตได้อย่างต่อเนื่องและสม่ าเสมอ
๘. ต้องจัดให้มีระบบคุณภาพในการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต ได้แก่ มีเกณฑรับบริจาค
์
หรืองดรับบริจาคโลหิต มีคู่มือ มีบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรม และมีเอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
๙. งานบริการโลหิต จะต้องจัดระบบการให้ค าปรึกษาแก่ผู้บริจาคโลหิตที่ไม่ผ่านการคัดเลือก
ตลอดจนการส่งต่อเพื่อการดูแลรักษาหากพบความผิดปกติ
๑๐. งานบริการโลหิต ควรก าหนดให้มีกลไกการติดตามและประเมินการใช้เกณฑ์การรับบริจาค
หรืองดรับบริจาคโลหิตและประสิทธิผลของการใช้เกณฑ์ดังกล่าว
๑๑. องค์กรระดับชาติที่ควบคุม ก ากับ ดูแลในระดับสูงขึ้นไป จะต้องให้ความส าคัญเรื่อง
การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต
๑๒. องค์กรระดับชาติด้านนโยบายการจัดหาทรัพยากรและจัดหาระบบสนับสนุน ควรจัดหา
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่จ าเป็นต้องใช้เพื่อให้การด าเนินงานด้านการรับบริจาคโลหิตมีความเหมาะสม
ดังนั้น การปรับปรุงข้อก าหนดคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตไว้ในมาตรฐานธนาคารเลือด
์
และงานบริการโลหิต พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามหลักเกณฑ Blood Donor Selection. Guidelines on Assessing
Donor Suitability for Blood Donation 2012
๗. สถานการณ์โลหิตส ารองในประเทศไทย
การบริจาคโลหิต เป็นวิถีหนึ่งที่มนุษยได้แบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยสละโลหิตส่วนที่
์
ั
ื่
ร่างกายยงไม่จ าเป็นต้องใช้ เพอให้กับผู้อื่นที่ต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะร่างกาย
แต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ ๑๗ - ๑๘ แก้วน้ า ซึ่งร่างกายใช้เพียง ๑๕ - ๑๖ แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้น
สามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โดยมีการประเมินความเหมาะสมจากผู้มีประสบการณ์ด้านการบริการโลหิต
หลังจากบริจาคโลหิตแล้วนั้น ร่างกายสามารถสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม
ดังนั้น การบริจาคโลหิตของบุคคล นอกจากไม่ส่งผลเสียของผู้แสดงเจตจ านงแล้ว ยังเป็นการปลุกสร้าง
จิตส านึกในการเสียสละ เพื่อประโยชน์ต่อบุคคลอื่น เป็นการแบ่งปันสิ่งที่ตนเองมีสมบูรณ์แล้วส ารองให้กับ
ผู้ที่ต้องการเป็นการส่งต่อการด ารงชีวิตแก่ผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่งดงามในนามของมนุษยชาติ ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควร
มีกระบวนการใดที่เป็นอุปสรรคต่อผู้แสดงเจตจ านงบริจาคโลหิต ตราบเท่าที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน
ความไม่ปลอดภัยต่อโลหิตที่บริจาคนี้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการขององค์การอนามัยโลก ที่ให้ทุกประเทศ
ต้องรับผิดชอบคัดกรองความปลอดภัยของโลหิตบริจาค เพอให้ได้โลหิตที่มีความปลอดภัยสูง โดยอาศัยข้อมูล
ื่
สาธารณสุขด้านการติดเชื้อ การระบาดของโรค และมาตรฐานการควบคุมโรคในประเทศของตนเป็นส าคัญ