Page 205 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 205
ส่วนที่ ๓ หน้า ๑๙๓
หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นนั้น ซึ่งหากมีพฤติกรรมดังกล่าว จะงดรับบริจาคโลหิตจากผู้นั้นอย่างไม่มี
ก าหนด หรือการสอบถามเรื่องชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยอ้างอิงข้อมูลการตรวจพบเชื้อเอชไอวีในโลหิต
บริจาคว่าสูงกว่าสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกกว่า ๒๐ - ๖๐ เท่า โดยมีช่องทาง
ติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ดังกล่าวถึงร้อยละ ๖๓ ซึ่งฐานการประเมินแบบเหมารวมดังกล่าวนี้ เป็นผลให้ลิดรอน
สิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศโดยปริยาย
ื่
เพอสร้างความรู้ความเข้าใจ และลดช่องว่างอันอาจน ามาซึ่งการจ ากัดสิทธิ ควรเปิดโอกาส
ให้เครือข่ายบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้ท างานร่วมกับสภากาชาดไทย ในการศึกษาว่าควรใช้ค าถาม
ในแบบคัดกรองผู้บริจาคโลหิตอย่างไร ที่ไม่กระทบต่อความรู้สึก การเลือกใช้ค าที่มีความอ่อนไหวอย่างเหมาะสม
ั
แทนค าว่าชายที่มีเพศสัมพนธ์กับชาย เนื่องจากชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นค าที่แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า
men who have sex with men (MSM) ซึ่งเพอไม่ให้เกิดการตีตรา และค าดังกล่าวถูกใช้อย่างเหมารวมกับ
ื่
ผู้ประสงค์บริจาคโลหิตที่มีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นคนรักเพศเดียวกัน และคนข้ามเพศ แต่ในสังคมไทยค าดังกล่าว
นั้นยังมีปัญหา จึงควรหาค าที่เหมาะสมซึ่งสภากาชาดไทยและเครือข่ายบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ต้องท างานร่วมกันเพื่อหาค าที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
๔. การวิจัยและสถิติที่เกี่ยวข้องกับระบาดวิทยาด้านเอชไอวีที่สร้างภาพเหมารวม
การจัดท าวิจัยเพื่อหาค าตอบเกี่ยวกับระบาดวิทยา เพื่อเป็นแนวทางป้องกันและสร้างความ
ปลอดภัยสูงสุดในการรับบริจาคโลหิต รายงานวิจัยกระแสหลักที่ผ่านมา อาศัยฐานคิดและทฤษฎยังตกอยู่ใน
ี
อิทธิพลสังคมนิยมชายเป็นระเบียบวิธีการวิจัยที่ถูกใช้ตลอดมาในวิชาการด้านต่าง ๆ ปัญหาของงานวิจัย
กระแสหลักดังกล่าวถึงแม้มีค าตอบที่ถูกต้องตามสมมติฐาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจะเกิดชายขอบของปัญหา มิได้เกิด
ในพื้นที่แกนกลาง ซึ่งไม่ตรงกับค าตอบที่ชัดเจน ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไม่ต้องตามที่สังคมต้องการ
อย่างไรก็ตามงานวิจัยกระแสทางเลือก ที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นงานวิจัยที่แสดงออกถึง
ความเป็นปัจเจกบุคคลและแนวคิดสตรีนิยมโดยอาศัยข้อมูลหลักฐานบางส่วนที่เกิดขึ้นในอดีตมาเป็น
งานวิจัยส าคัญ เช่น จดหมายของผู้หญิงในสงคราม ซึ่งสะท้อนโครงสร้างที่มองไม่เห็นกลุ่มคนชายขอบที่ถูก
ื่
ทอดทิ้ง งานวิจัยดังกล่าวจึงถูกขยายเพอถ่วงดุลงานวิจัยกระแสหลักเพื่อให้มองเห็นกลุ่มคนที่เคยถูกละเลย
ทอดทิ้ง
ฝ่ายงานวิจัยกระแสหลักก็ใช้ผลการวิจัยและมองเหมารวมกลุ่มผู้มีความหลากหลาย
ทางเพศว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง แต่ในทางกลับกันกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศก็โต้แย้งว่าไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็น
กลุ่มเสี่ยง แม้จะค านึงถึงความปลอดภัยของเลือดบริจาคโดยเฉพาะปลอดจากเชื้อเอชไอวี โดยวาง
หลักเกณฑ์เป็นแนวปฏิบัติเพื่อความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย แต่การรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายนี้ เป็นเรื่อง
ิ
เกี่ยวกับพฤติกรรมของแต่ละบุคคลไม่ใช่เรื่องของกลุ่มบุคคลหรือการประกอบอาชีพ จึงต้องพจารณาถึง
พฤติกรรมความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ไม่ใช่การตีตราแบบเหมารวมจากเงื่อนไขที่บุคคลนั้นมีเพศสภาพไม่ตรงกับ
เพศก าเนิด โดยใช้ข้อมูลสถิติการติดเชื้อเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธ ซึ่งถือเป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล
ประเด็นดังกล่าวนี้ เห็นว่าควรใช้ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศสัมพนธ์ในระดับบุคคล
ั
(Individual sexual behavior) เพอสอดคล้องกับกระบวนการรับบริจาคโลหิตซึ่งเป็นมาตรฐานโลก
ื่
ขณะเดียวกันในทางระบาดวิทยาของการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย พบว่าการติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น
ในอัตราที่น่ากังวล โดยเฉพาะเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มชายรักชายที่แนวโน้มมีอายุน้อยลง ภาวะอุบัติการณ์ดังกล่าว