Page 200 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 200
หน้า ๑๘๘ ส่วนที่ ๓
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เคยได้รับเรื่องร้องเรียนในประเด็นการเลือกปฏิบัติ
ต่อบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ประสงค์จะบริจาคโลหิต และเชิญสภากาชาดไทยไปชี้แจงแล้ว
การบริจาคโลหิตไม่ใช่หน้าที่ แต่เป็นทั้งสิทธิและเสรีภาพของแต่ละบุคคล เพราะทุกคน
เป็นเจ้าของเลือดของตนเอง การจะยกหรือไม่ยกให้ใครจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของคนนั้น ไม่ว่าสภากาชาดไทย
ื้
หรือสภากาชาดสากลล้วนถูกตั้งขึ้นมาด้วยพนฐานความคิดเกี่ยวกับมนุษยธรรม การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ด้วยการบริจาคโลหิตจึงเป็นเรื่องของมนุษยธรรม ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อสภากาชาดไทยประกาศ
รับบริจาคโลหิต ทุกคนจึงมีสิทธิเสรีภาพที่จะบริจาคหรือไม่ก็ได้ตามความสมัครใจของแต่ละคน แต่กรณีที่
สภากาชาดไทยออกกฎหรือระเบียบการรับบริจาคที่เป็นการ “แบ่งแยก กีดกัน จ ากัด” เพื่อไม่ให้บุคคลได้ใช้สิทธิ
และเสรีภาพอันพึงมีพึงได้ของแต่ละคน จึงเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติ
ิ
เมื่อพจารณาถึงการบริจาคโลหิต สิ่งหนึ่งที่เห็นตรงกันกับสภากาชาดไทย คือ เลือดที่รับบริจาค
ต้องปลอดภัยต่อผู้รับ แต่ผู้บริจาคโลหิตทุกคนจ าเป็นต้องยอมรับเงื่อนไขการตรวจคัดกรองทุกคนโดยไม่มี
ข้อยกเว้น ทั้งนี้ ผู้ชี้แจงตั้งข้อสังเกตต่อประเด็นค าถามในแบบสอบถามที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของผู้บริจาค
โลหิตที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อเอชไอวี เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ซึ่งเห็นว่าเป็นพฤติการณ์
ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคู่รักชายรักชายเท่านั้น คู่รักชายหญิงก็อาจเกิดขึ้นได้ไม่แตกต่างกัน เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่อง
ของกลุ่มบุคคลแต่เป็นเรื่องของพฤติกรรมส่วนบุคคล การตั้งค าถามจึงควรใช้ถ้อยค าที่เป็นกลางโดยถามเฉพาะ
ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ท่านเคยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับบุคคลอื่นในระยะ ๓ เดือนที่ผ่านมา
หรือไม่ เป็นต้น
“สิทธิมนุษยชน” “สิทธิ” “หน้าที่” และ “เสรีภาพ” เป็นค าที่ปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค าว่า “สิทธิมนุษยชน” หมายถึง สิทธิของความเป็นมนุษย์ที่มีติดตัวมาแต่ก าเนิด
โดยสหประชาชาติให้การรับรองสิทธิหลายประการ เช่น สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิในการเลือกถิ่น
ที่อยู่อาศัย เป็นต้น ส่วนค าว่า “สิทธิ” จะผูกพันกับหน้าที่ เช่น สิทธิได้รับการศึกษา รัฐจึงมีหน้าที่ต้องจัดให้
ทุกคนได้รับการศึกษาตามสิทธินั้น ดังนั้น เมื่อทุกคนมีสิทธิบริจาคโลหิต สภากาชาดไทยจึงมีหน้าที่รับ
บริจาคโลหิตและคัดกรองโลหิตให้มีความปลอดภัยต่อผู้รับ ส่วนค าว่า “เสรีภาพ” ไม่ได้ผูกพนกับค าว่า
ั
หน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รัฐไม่มีหน้าที่ต้องจัดหา
แต่รัฐก็จะมาขัดขวางไม่ได้เช่นกัน การขัดขวางเสรีภาพของบุคคลโดยการเลือกจับกุมบางกลุ่มก็เข้าข่าย
เป็นการเลือกปฏิบัติ ดังนั้น เรื่องการบริจาคโลหิตจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของผู้บริจาค และหน้าที่
ของผู้รับบริจาคที่จะต้องด าเนินการจัดหาโลหิตเพื่อบริการต่อประชาชนอย่างชัดเจน
การท างานด้านเอดส์ที่พยายามหลีกเลี่ยงการท าให้เกิดการตีตราต่อกลุ่มคน (Stigma)
รวมทั้งการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพราะความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย
ิ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมไม่ใช่เรื่องของกลุ่มบุคคลหรือการประกอบอาชีพ จึงต้องพจารณาถึงพฤติกรรม
เสี่ยงรายบุคคล ไม่ใช่การตีตราแบบเหมารวมจากเงื่อนไขที่บุคคลนั้นมีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศก าเนิด โดยใช้
ข้อมูลสถิติการติดเชื้อเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธ ซึ่งถือเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน
การตรวจ NAT (Nucleic Acid amplification Testing) เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ี
โดยตรงจาก RNA หรือกรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid) ของเชื้อหลังจากมีความเสี่ยงมาเพยง
๗ - ๑๔ วัน ซึ่งแตกต่างจากวิธีการตรวจแบบเดิมอาจจะเป็นการตรวจหาแอนติบอดีที่เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน
ในร่างกายเพอต่อต้านเชื้อต้องรอระยะเวลานานตั้งแต่ ๒๑ - ๓๐ วันขึ้นไปกว่าจะตรวจพบเชื้อ ระยะนี้เรียกว่า
ื่
ั
ระยะฟกตัว หรือระยะ Window Period แต่การตรวจด้วย NAT มีรายละเอียดในลักษณะการตรวจ เช่น