Page 203 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 203
ส่วนที่ ๓ หน้า ๑๙๑
ิ
รวมทั้งเคารพซึ่งความหลากหลายทางเพศ ขณะเดียวกันการพจารณาเรื่องดังกล่าวนี้โดยค านึงถึงความปลอดภัย
ของโลหิตที่รับบริจาคผ่านระบบการคัดกรองเบื้องต้นตามแบบสอบถามส าหรับผู้บริจาคโลหิต ที่ศูนย์บริการ
โลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยวางเอาไว้
ในการพิจารณา คณะกรรมาธิการวางหลักคิดเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์ ดังนี้
๑. การบริจาคโลหิตเป็นสิทธิและต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือเป็นหน้าที่
การบริจาคโลหิตนั้นเป็นทั้งสิทธิและเสรีภาพของแต่ละบุคคล เพราะทุกคนเป็นเจ้าของเลือด
ของตนเอง การจะยกหรือไม่ยกให้ใครจึงเป็นกรรมสิทธิ์บุคคลนั้น ไม่ว่าสภากาชาดไทยหรือสภากาชาดสากล
ื้
ื่
ล้วนถูกตั้งขึ้นมาด้วยพนฐานความคิดเกี่ยวกับมนุษยธรรม การช่วยเหลือเพอนมนุษย์ด้วยการบริจาคโลหิต
จึงเป็นเรื่องของมนุษยธรรม ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ตามกฎหมาย การบั่นทอน การเลือกปฏิบัติ การตัดสินอันไม่สมควร
ื่
หลีกเลี่ยง การกระท าการใด ๆ เพอขัดขวางมิให้บุคคลมีโอกาสได้ใช้สิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญรับรองไว้
เพยงเพราะมีความแตกต่างจากเพศก าเนิด และการมีวิถีชีวิตอันปัจเจก เมื่อรัฐกระท าการใดอันเป็น
ี
การแบ่งแยก กีดกัน หรือจ ากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม
เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก าเนิดย่อมเป็น
การลดทอนคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับบุคคลนั้น ขณะที่หน่วยรับบริจาคโลหิต คาดหวังว่าเป็น
หน้าที่ของบุคคลในฐานะความเป็นพลเมืองดี ซึ่งในความเป็นพลเมืองดี ย่อมหมายถึงบุคคลที่มีทัศนคติ ค่านิยม
และความประพฤติเหมาะสม พร้อมทั้งท าสิ่งที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ในทางที่ดีต่อตนเองและสังคม
รู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ รู้จักเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น ปฏิบัติตาม
กฎระเบียบบ้านเมือง
ดังนั้น การบริจาคโลหิตของผู้แสดงเจตจ านงเป็นเรื่องของสิทธิ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือเป็น
หน้าที่ของบุคคลที่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องมนุษยธรรมที่มนุษย์ทุกคนต้องมีจิตส านึกของการ
ช่วยเหลือมนุษย์และสังคม โดยมีเป้าหมายเพอความมั่นคงของมนุษย์ การบริจาคโลหิตจึงเป็นสิทธิ
ื่
และหน้าที่ควบคู่กัน เนื่องจากถ้าก าหนดเป็นหน้าที่อย่างเดียวต้องมีกฎหมายบังคับให้ประชาชนบริจาคโลหิต
แต่ประเทศไทยไม่ได้มีกฎหมายหรือวัฒนธรรมที่บังคับเป็นหน้าที่ แต่มาตรการความปลอดภัยนั้นถูกก าหนดขึ้น
ที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้สิทธิบริจาคโลหิต และเมื่อใช้สิทธิแล้วก็มีหน้าที่เพอความปลอดภัยต่อผู้รับ
ื่
บริจาคโลหิตตามมา
๒. ระยะปลอดภัยในกระบวนการบริจาคโลหิต
ื่
การบริจาคโลหิตมีแนวทางการปฏิบัติที่แต่ละประเทศต้องยึดถือเพอให้เป็นไปตาม
ิ
มาตรการความปลอดภัย ทั้งนี้ ควรพจารณาปรับใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะ Window Period ซึ่งเป็น
ช่วงระยะเวลาที่ผู้มีความเสี่ยงต่อเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ได้รับเชื้อมา แต่ยังไม่สามารถตรวจพบได้ โดยที่
สภากาชาดไทยวางหลักให้ผู้ที่มีความเสี่ยงรับเชื้อเอชไอวีจะสามารถบริจาคโลหิตได้นั้น ต้องไม่น้อยกว่า ๘ วัน
หลังจากวันที่เสี่ยงรับเชื้อ ขณะที่บางประเทศอาจจะ ๓ เดือน ๖ เดือน หรือ ๑๒ เดือน นอกจากนี้ WHO
ได้จัดท า WHO Guidelines ให้แนวทางเกี่ยวกับการรับบริจาคโลหิตไว้ในกรณีที่ผู้บริจาคมีพฤติกรรม
ทางเพศที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วิธีการเลื่อนเวลาการบริจาคเป็นการชั่วคราว
หรือถาวร และมีการระบุชัดเจนว่า “Permanent deferral of MSM” ควรใช้ในลักษณะ “As low as reasonably
achievable” ใช้ในระดับต่ าที่สุดที่ยังคงไว้ซึ่งระดับความปลอดภัยของเลือดสูงสุด บางประเทศได้เปลี่ยนแปลง
เกี่ยวกับแนวทางการตรวจหาเชื้อในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น