Page 206 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 206

หน้า ๑๙๔                                                                             ส่วนที่ ๓



               จึงยังคงให้ค าถามทั้งในแบบคัดกรองและการสัมภาษณ์ในประเด็นอ่อนไหวต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลาย

               ทางเพศคงอยู่และกลายเป็นประเด็นส าคัญที่อาจสร้างภาพเหมารวมถึงกลุ่มบุคคลดังกล่าว ทั้งที่ปัญหา
               ที่เกิดขึ้นเป็นพฤติกรรมของแต่ละบุคคล

                           ๕. อคติในสังคมที่มีต่ออัตลักษณ์ทางเพศ
                             การบริจาคโลหิต เป็นวิธีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้บุคคลได้มีส่วนร่วมต่อกระบวนการด้าน
               สุขภาวะของชาติ ผู้แสดงเจตจ านงรู้สึกถึงการมีคุณค่าต่อมวลมนุษยชาติด้วยกัน ร่วมแบ่งปันผ่านโลหิต

               ที่ร่างกายหนึ่งผลิตขึ้นสู่อีกร่างกายหนึ่งที่หาได้รู้จักกันไม่ ที่ผ่านมาการที่มีบุคคลข้ามเพศบางคนหรือผู้มี
               ความหลากหลายทางเพศบางคนได้รับการคัดเลือกให้บริจาคโลหิตได้ และบางคนไม่ได้รับการคัดเลือกให้ได้

               บริจาคโลหิต อันเนื่องจากระบบที่ใช้ในการคัดเลือก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปิดกั้นการมีส่วนร่วม บ่งบอกถึง
               ความอคติ การเลือกปฏิบัติ และขาดมาตรฐานในการคัดกรอง
                             องค์การอนามัยโลกได้ออกค าแนะน าเชิงนโยบายแก่ประเทศสมาชิกในหนังสือคู่มือ Blood

               Donor Selection. Guidelines on Assessing Donor Suitability for Blood Donation 2012 ข้อหนึ่ง
                            ์
               ว่าหลักเกณฑการรับบริจาคโลหิตหรืองดรับบริจาคโลหิต จะต้องมีรายละเอียดของแต่ละประเด็น
                                                                                                       ี
               ที่บ่งชี้โรคหรือสภาวะอันมีเหตุผลรองรับ หน่วยรับบริการโลหิตการมีบุคลากรที่มีคุณภาพและเพยงพอ
               ได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ าเสมอ และที่ส าคัญ จะต้องมีระบบให้ค าปรึกษาแก่ผู้บริจาคโลหิตที่ไม่ผ่าน
                                               ื่
               การคัดเลือก ตลอดจนการส่งต่อเพอการดูแลรักษาหากพบความผิดปกติ อันจะเป็นการสร้างคุณค่าต่อ
               ผู้บริจาคโลหิตที่ไม่ผ่านการคัดเลือก
                             สภากาชาดไทย โดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้ออกข้อก าหนดคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต

               ไว้ในมาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต พ.ศ. ๒๕๕๕ มีประเด็นที่กระทบกับผู้มีความหลากหลาย
               ทางเพศ ซึ่งผู้ที่จะบริจาคโลหิต ต้องผ่านกระบวนการซักถามประวัติสุขภาพและประเมินถึงความเสี่ยง

               ทั้งก่อนหน้าและวันบริจาค โดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมด าเนินการตามคู่มือการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต อีกทั้ง
                                                                  ั
               ยังประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น การมีเพศสัมพนธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่ของตน ชายที่มีเพศสัมพนธ์
                                                                                                          ั
                                                ั
                                                                                                       ั
               กับเพศเดียวกัน คู่ของตนมีเพศสัมพนธ์กับผู้อื่น ผู้ที่อาจติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพนธ์อื่น
                                     ั
                                                         ื่
                                                                                                         ื่
               หรือคู่ของตนมีเพศสัมพนธ์กับเพศเดียวกัน เพอคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อโรคที่จะติดต่อทางโลหิต และเพอให้
                                                          ื่
               ค าปรึกษาด้านสุขภาพแก่ผู้บริจาคโลหิต ทั้งนี้เพอให้ได้โลหิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้ป่วย ตลอดจน
                                                                                        ื่
               ให้การดูแลแนะน าให้ค าปรึกษาแก่ผู้บริจาคโลหิตที่ติดเชื้อรวมทั้งมีระบบการ ส่งต่อเพอให้ได้รับการดูแลรักษา
               ที่เหมาะสมต่อไป มีความจ าเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมสร้างความเข้าใจ เรียนรู้เพื่อพัฒนาบริการของสภากาชาด
               ไทยให้เป็นไปในมาตรฐานบริการเดียวกันในประเด็นความหลากหลายทางเพศ ตามเจตนารมณ์ของมาตรา ๔
               และมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                           ๖. แนวทางการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต

                             องค์การอนามัยโลก ได้ออกค าแนะน าเชิงนโยบายแก่ประเทศสมาชิกในการคัดเลือก
               ผู้บริจาคโลหิตไว้ในหนังสือคู่มือ Blood Donor Selection. Guidelines on Assessing Donor Suitability for
               Blood Donation 2012 เพื่อให้โลหิตที่รับบริจาคมีความปลอดภัย สรุปได้ดังนี้

                             ๑. แต่ละประเทศสร้างระบบในการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตและส่วนประกอบโลหิตให้เป็น
               แนวทางระดับชาติ (National System)

                             ๒. ผู้บริจาคโลหิตทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกทุกครั้งที่มาบริจาค
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211