Page 208 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 208

หน้า ๑๙๖                                                                             ส่วนที่ ๓



                             นอกจากนี้ การบริจาคโลหิตเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทางสังคมที่ต้องสร้างความตระหนัก

                                                                                        ื้
               และการมีส่วนร่วมในสังคมต่อกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมบนพนฐานของความสมัครใจ
               การมีส่วนร่วมที่รัฐหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่สร้างกลยุทธ์ในการสร้างแรงจูงใจให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

                             สถานการณ์โลหิตส ารองของสภากาดไทย ตกอยู่ในสถานะที่น่ากังวล องค์การอนามัยโลกให้
               ข้อมูลปริมาณของโลหิตส ารองที่แต่ละประเทศควรมีไว้อย่างน้อยร้อยละ ๒ - ๔ ของประชากรทั้งหมด
               แต่ส าหรับประเทศไทยพบว่ามีเพียงร้อยละ ๑.๖ จึงส่งผลต่อการขาดแคลนโลหิตส ารอง และเมื่อต้องเผชิญ

               กับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ท าให้สถานการณ์อยู่ในภาวะที่น่ากังวลอย่างยิ่ง
                             จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยต้องแจ้ง

               ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ขอให้คนไทยสุขภาพดีช่วยกันบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน ในสถานการณ์
               การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ซึ่งก่อวิกฤติการขาดแคลนโลหิตครั้งใหญ่ ในภาวะปกติ จะต้องมี
               โลหิตรักษาผู้ป่วยประมาณเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ ยูนิต แต่เดือนกรกฎาคม มีผู้บริจาคโลหิตเพียง ๑๔๙,๓๘๔ ยูนิต

               และขาดแคลนสะสมเป็นเวลากว่า ๕ เดือน ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องเลื่อนการผ่าตัดและการรักษาพยาบาลออกไป
               (สภากาชาดไทย, ออนไลน์. วิกฤติเลือดหมดคลังทั่วประเทศ ทุกโรงพยาบาลขาดเลือดผ่าตัด วอนบริจาคโลหิต

               ช่วยชีวิตผู้ป่วย)
                             ทั้งนี้ โรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า ๓๔๐ แห่ง มีการเบิกโลหิตเฉลี่ยวันละ ๘,๐๐๐ ยูนิต
               แต่สามารถจ่ายโลหิตให้ได้เฉลี่ย ๒,๓๐๐ ยูนิต ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ ๒๘ เท่านั้น ซึ่งสถานการณ์ขาดแคลน

               โลหิตนี้จะส่งผลอันตรายแก่ชีวิตได้ และส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเลือด ซึ่งจ าเป็นต้องรับโลหิตครั้งละ
               ๑ - ๒ ยูนิต ทุก ๓ - ๔ สัปดาห์ หากไม่ได้รับโลหิตผู้ป่วยจะมี ภาวะซีด อ่อนเพลีย มีปัญหาในการด ารงชีวิต

               ผู้ป่วยผ่าตัด ผู้ป่วยมะเร็ง ที่จะต้องถูกชะลอการรักษาออกไปอย่างไม่มีก าหนด และผู้ป่วยอุบัติเหตุ ที่จ าเป็น
               ต้องใช้โลหิตในการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เช่น เลือดออกในสมอง มีภาวะเลือดออกในช่องอก หรือช่องท้อง

               หรือผู้ป่วยกระดูกหัก ซึ่งมีเกือบทุกวันและเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการโลหิตจ านวนมาก จากสถานการณ์โควิด
               ส่งผลให้คนมาบริจาคโลหิตลดน้อยลงอย่างชัดเจน แต่ว่าการใช้โลหิตในการรักษาพยาบาลยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
               ทุกวันจนเกิดภาวะขาดแคลนเลือดทั่วประเทศ

                             นอกจากนี้ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
               แจ้งข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ระบุว่า “ด่วน ! โรงพยาบาลทั่วประเทศต้องการเลือดทุกกรุ๊ป A, B, AB

               และ O เนื่องจากหลายโรงพยาบาลหมอท าการนัดผ่าตัดเต็มรูปแบบ ผู้ป่วยต้องการโลหิตจ านวนมาก
                                               ี
               ส่งผลกระทบให้โลหิตคงคลังไม่เพยงพอ สภากาชาดไทยจึงขอร่วมบริจาคโลหิตฝ่าวิกฤตโรคระบาด
               ส่งต่อโลหิตที่ปลอดภัยให้ผู้ป่วยได้ผ่าตัด”

                           ๘. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                             ในการรับรองและคุ้มครองบุคคลนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พทธศักราช ๒๕๖๐
                                                                                             ุ
               มาตรา ๒๗ บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับ
               ความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน” และวรรคสาม “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล
               ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นก าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพการ สภาวะทางกายหรือสุขภาพ
                                                                                 ิ
               สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็น
               ทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระท าไม่ได้” ประกอบกับพระราชบัญญัติ

               ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งประกาศใช้ก่อนหน้านั้น มีเจตนารมณ์ที่ต้องการให้กฎหมายนี้
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213