Page 201 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 201
ส่วนที่ ๓ หน้า ๑๘๙
a Multiplex NAT, a Single Virus NATs, minipools, pooled subpools จ าเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
ื่
ทางให้ข้อมูลในเชิงลึก ดังนั้น จึงเห็นว่าควรใช้เทคโนโลยีเพอความปลอดภัยของเลือดร่วมกับแนวทางอื่น
เพื่อให้การคัดกรองเป็นไปอย่างถี่ถ้วนและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ั
ปัจจุบันสภากาชาดไทยยงใช้ WHO Guidelines ฉบับเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี ๒๐๑๒ ซึ่งมีเรื่อง
ที่ต้องค านึงว่า WHO Guidelines เป็นเพียงแนวทางการปฏิบัติที่ไม่ใช่ข้อก าหนดที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องยึดถือ
เพอปฏิบัติตาม และควรพจารณาปรับใช้ข้อแนะน าในประเทศของตนอย่างระมัดระวัง โดยได้ให้แนวทาง
ื่
ิ
เกี่ยวกับการรับบริจาคไว้ในกรณีที่ผู้บริจาคมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย ที่ประเทศสมาชิกสามารถเลือกได้
ว่าจะใช้วิธีการเลื่อนเวลาการบริจาคเป็นการชั่วคราวหรือถาวร และมีการระบุชัดเจนว่า “Permanent
deferral of MSM” ควรใช้ในลักษณะ “As low as reasonably achievable” ใช้ในระดับต่ าที่สุดที่ยังคงไว้
ซึ่งระดับความปลอดภัยของเลือดสูงสุด
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากปี ๒๐๑๒ ที่ WHO ได้จัดท า WHO Guidelines ขึ้นใช้หลายประเทศ
ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับแนวทางการตรวจหาเชื้อในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพนธ์กับชาย เช่น ออสเตรเลีย
ั
ั
สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ที่ใช้วิธีการเลื่อนเวลาการบริจาคเลือดจากผู้มีเพศสัมพนธ์ที่ไม่ปลอดภัย ในระยะแรก
หลายประเทศเปลี่ยนการเลื่อนเวลาจาก “ตลอดชีพ” (a lifetime deferral) เป็น “๑ ปี” (a one-year deferral)
ซึ่งมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ว่าการเปิดรับการบริจาคเลือดจากกลุ่มชายรักชาย
ิ่
ไม่ได้เป็นการเพมความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และในเวลาต่อมาได้ลดการเลื่อนเวลาเหลือ “๓ เดือน” (a 3-month
ิ
deferral) ซึ่งหลักการเลื่อนเวลาการบริจาคดังกล่าว ถูกน าไปใช้พจารณาผู้บริจาค ๒ กรณี ได้แก่ กรณีชาย
ที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (a man who has had sex with another man) และหญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่เคย
มีเพศสัมพนธ์กับชาย (a female who has had sex during the past 3 months with a man who has
ั
had sex with another man) ในช่วงระยะเวลา ๓ เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น
จะเห็นได้ว่า เป้าหมายสูงสุดของการคัดกรองเลือด คือ ความปลอดภัยของเลือดทุกหยด ดังนั้น
จึงควรหลีกเลี่ยง “การเหมารวม” โดยพิจารณา “พฤติกรรม” ของทุกคนเป็นหลัก และค านึงถึงพฤติกรรม
ื่
เสี่ยงที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ทั้งนี้ เห็นว่าควรต้องมีการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวเพอหาหลักฐานที่เป็นเหตุผล
รองรับโดยค านึงถึงความเหมาะสมภายใต้บริบทของประเทศไทย ซึ่งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิด้านเอดส์ มีข้อเสนอแนะต่อคณะอนุกรรมาธิการ ดังนี้
๑) ควรมีคณะกรรมการท างานร่วมกับสภากาชาดไทย เพอให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมใน
ื่
การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลากหลายแง่มุม รวมถึงการปรับค าถามให้เหมาะสมตามบริบทของ
ประเทศไทย
๒) คณะกรรมการควรมีองค์ประกอบจากกลุ่มชายรักชาย หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลาย
ทางเพศ ร่วมท างานจะช่วยท าให้เห็นถึงข้อกังวลของทุกกลุ่มอย่างแท้จริง
๓) การสื่อสาร ให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มชายรักชาย หรือกลุ่มผู้มี
ความหลากหลายทางเพศ รวมถึงประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองการบริจาคโลหิตให้มีความเข้าใจ
ไปในทิศทางเดียวกัน และถ้าหากเป็นไปได้ควรมีผู้แทนจากกลุ่มชายรักชาย หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
ท างานอยู่ในฝ่ายคัดกรองผู้บริจาคของสภากาชาดไทย เพื่อช่วยให้ค าปรึกษาหรือสื่อสารต่อผู้บริจาคในประเด็นที
มีข้อสงสัย