Page 199 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 199
ส่วนที่ ๓ หน้า ๑๘๗
ต่อ ๑๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งมีสถิติสูงกว่าในหลาย ๆ ประเทศ และไม่ได้มีการบันทึกว่าติดจากช่องทางใด เป็นแต่
เพียงการเก็บสถิติเท่านั้น
ในการบริจาคโลหิตนั้นจะเป็นการก าหนดขั้นตอนในการบริจาคโดยสภากาชาดไทย โดยมี
ล าดับการคัดกรอง คือ
๑. คัดกรองตนเองโดยตอบแบบสอบถามเบื้องต้น
๒. คัดกรองโดยแพทย์ในการซักประวัติ
๓. การคัดกรองโลหิต โดยจะเป็นการตรวจคัดกรองร่องรอยโรค กรุ๊ปโลหิต
๔. ลงระบบทะเบียนของผู้บริจาคโลหิต โดยข้อมูลจะต้องสามารถตรวจสอบได้
๓. มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
กรณีแบบสอบถามส าหรับผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทยในค าถามเรื่องประวัติด้าน
ั
ั
เพศสัมพนธ์ ได้แก่ ค าถามข้อ ๑๓ ท่านหรือคู่ของท่านเคยมีเพศสัมพนธ์กับผู้ที่ไม่ใช่คู่ตนเอง ผู้ที่ท างาน
บริการทางเพศ ผู้เสพยาเสพติด ผู้ที่อาจติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ข้อ ๑๔ ท่านเคยใช้
ั
ยารักษาหรือป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และข้อ ๑๕ ท่านเป็นเพศชายที่เคยมีเพศสัมพนธ์กับเพศชาย นั้น
ั
ในเรื่องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพนธ์เป็นค าถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลและเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน
จึงไม่ควรน ามาใส่ไว้ในแบบสอบถามการรับบริจาคโลหิต
ส าหรับปัญหาความกังวลเรื่องรับบริจาคโลหิตของผู้มีความหลากหลายทางเพศจะเสี่ยงต่อ
การติดเชื้อเอชไอวีนั้น สภากาชาดไทยควรให้ความรู้แก่ประชาชนถึงพฤติกรรมความเสี่ยงในการติดเชื้อ
เอชไอวีก่อนการบริจาคโลหิตมากกว่าที่จะคัดกรองการรับบริจาคโลหิตด้วยค าถามดังกล่าวเช่นนี้ นอกจากนี้
ในขั้นตอนการรับบริจาคโลหิตสภากาชาดไทยจะมีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนการน าโลหิตไปใช้อยู่แล้ว
ซึ่งมีเทคโนโลยีการตรวจที่มีมาตรฐานและความแม่นย าเกือบร้อยละ ๙๙ โดยที่ผ่านมา พบว่ามีโลหิตที่ติดเชื้อ
เอชไอวีน้อยมาก การปฏิเสธไม่รับบริจาคโลหิตของผู้มีความหลากหลายทางเพศทั้งหมดเป็นการตีตรา
และเหมารวม ดังนั้น ในความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลว่าควรยกเลิกกฎเกณฑ์และค าถามในแบบสอบถามดังกล่าวนี้
ื่
โดยมีเป้าหมายหลักเพอสนับสนุนให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศสามารถบริจาคโลหิตได้ เนื่องจากหาก
ผู้บริจาคโลหิตทุกคนสามารถประเมินตนเองถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ได้ ประกอบกับการมีระบบคัดกรอง
และตรวจหาเชื้อที่ดีและเท่าเทียม ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า
๔. คณะอนุกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
บทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ อยู่ภายใต้
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
โดยต าแหน่ง ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีคณะอนุกรรมการ ๗ ชุด เป็นกลไกขับเคลื่อนงานเชิงนโยบาย
ให้บรรลุเป้าหมายแผนยุติปัญหาเอดส์ประเทศไทยตามยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์
พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๓ โดยมีเป้าหมายหลัก ๓ ประการ ได้แก่ (๑) ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ให้เหลือ
ปีละไม่เกิน ๑,๐๐๐ ราย (๒) ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเหลือปีละไม่เกิน ๔,๐๐๐ ราย และ
(๓) ลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวี และเพศภาวะลงร้อยละ ๙๐ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีสถิติ
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ปีละประมาณ ๖,๐๐๐ ราย มีสถิติผู้เสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีปีละประมาณ
๑๒,๐๐๐ ราย และจากการส ารวจทัศนคติของประชากรไทยต่อการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เมื่อปี ๒๕๕๗
พบว่า ประชากรกว่าร้อยละ ๕๘.๖ ยังคงมีการรังเกียจและไม่ยอมรับการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี