Page 196 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 196

หน้า ๑๘๔                                                                             ส่วนที่ ๓



                   พิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริจาคโลหิตของผู้มีความหลากหลายทางเพศ


                           คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์และผู้มีความหลากหลาย

                                               ้
                           ิ
                                                                                                      ิ
                                                                                                   ื่
               ทางเพศ ได้พจารณาเรื่องที่สมาคมฟาสีรุ้งแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการ เพอพจารณา
               หาแนวทางในการให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศได้เข้าถึงสิทธิที่ประสงค์จะบริจาคโลหิต และเพอให้การ
                                                                                                     ื่
                 ิ
                                                                                       ิ
               พจารณาเป็นไปอย่างรอบคอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ในประเด็นที่พจารณา จึงมอบหมายให้
               คณะอนุกรรมาธิการเพอพจารณาศึกษาปัญหาด้านเด็ก เยาวชน สตรี และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
                                       ิ
                                    ื่
               ด าเนินการต่อไป โดยเชิญผู้ยื่นหนังสือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้ข้อมูล และข้อคิดเห็นประกอบ
               การพจารณา ประกอบด้วยสภากาชาดไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการแห่งชาติ
                    ิ
               ว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติ
               โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตลอดจนศึกษาจากเอกสารงานวิจัย ข้อมูลเชิงสถิติ กฎหมายทั้งภายในและ
               ต่างประเทศ อีกทั้งข้อตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยร่วมเป็นภาคี เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างรอบด้าน โดยอาศัยหลัก
               แนวคิดมาเป็นองค์ประกอบการพิจารณา ประกอบด้วย (๑) การบริจาคโลหิตเป็นสิทธิและต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

               หรือเป็นหน้าที่ของบุคคล (๒) ระยะปลอดภัยในกระบวนการบริจาคโลหิต (๓) ภาษาที่ใช้ในแบบสอบถาม
               และการคัดกรองบุคคลผู้แสดงเจตนาบริจาคโลหิต (๔) การวิจัยและสถิติที่เกี่ยวข้องกับระบาดวิทยาด้าน

               เอชไอวีที่สร้างภาพเหมารวมต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ (๕) อคติในสังคมที่มีต่ออัตลักษณ์ทางเพศ
               (๖) แนวทางการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตโดยอาศัยค าแนะน าเชิงนโยบายจากคู่มือ Blood Donor
               Selection. Guidelines on Assessing Donor Suitability for Blood Donation 2012 ขององค์การอนามัยโลก

               เพื่อให้โลหิตที่รับบริจาคมีความปลอดภัยสูงสุด (๗) ความต้องการโลหิตส ารองในประเทศไทย และ (๘) กฎหมาย
               ที่เกี่ยวข้องที่เป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิของบุคคลมิให้ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมขณะเดียวกัน

               เพื่อมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยของเลือดเป็นประการส าคัญด้วยเช่นกัน
                           เมื่อได้พิจารณาแล้วมีข้อสังเกตถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                           ๑. ให้สภากาชาดไทยและเครือข่ายกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศสร้างความเข้าใจ

               ต่อสังคมว่าการบริจาคโลหิตต้องเป็นไปตามหลักการมนุษยธรรม และกระทรวงศึกษาธิการ ควรเพมเติม
                                                                                                       ิ่
               บทเรียนหลักการมนุษยธรรม และการบริจาคโลหิตว่าเป็นเรื่องของมนุษยธรรมและความมั่นคงของมนุษย์

                                                                                                  ื่
                                                                                                     ั
                           ๒. สภากาชาดไทยและหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขควรท างานร่วมกันเพอพฒนาหา
               เทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการตรวจหาระยะปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                           ๓. แบบสอบถามในการบริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ควรเป็นการสอบถามถึงพฤติกรรม

                                     ั
               ความเสี่ยงทางเพศสัมพนธ์ของผู้บริจาคโลหิต ไม่ควรตัดสินที่อัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถี กระบวนการ
               ปรับแก้ไขถ้อยค าหรือการใช้ภาษาในแบบสอบถาม สภากาชาดไทยควรปรึกษาหารือกับเครือข่ายกลุ่มผู้มี

               ความหลากหลายทางเพศ เพื่อหาถ้อยค าและระบบการคัดกรองที่เหมาะสม
                           ๔. สภากาชาดไทยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวิจัยและสถิติทางระบาดวิทยาด้านเอชไอวี/
               เอดส์ เมื่อมีการเผยแพร่ผลการศึกษาดังกล่าวต่อสาธารณะต้องหลีกเลี่ยงการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อ

               กลุ่มประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป้าหมายในการเผยแพร่ผลการวิจัยจึงควรเป็นข้อมูลทางการแพทย์
               และข้อมูลการพฒนาและแก้ไขปัญหาเท่านั้น ในด้านการบริการการรับบริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย
                              ั
                                                                                               ื่
               ต้องใช้ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศสัมพนธ์ในระดับบุคคล (Individual sexual behavior) เพอไม่ให้เป็นการ
                                               ั
               สร้างภาพเหมารวมต่อประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201