Page 202 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 202
หน้า ๑๙๐ ส่วนที่ ๓
๕. คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับ Blood Banks หรือ Blood Law ที่ก าหนดเกี่ยวกับ
ื่
การบริจาคเลือดอย่างชัดเจน แต่สภากาชาดไทยถูกตั้งขึ้นเพอท าหน้าที่เป็นหน่วยกลางในการรับบริจาคโลหิต
และจัดหาเลือดที่ปลอดภัย สภากาชาดไทยจึงไม่มีหน้าที่ปฏิเสธไม่รับการบริจาคจากประชาชน และการคัดกรอง
เลือดก็ไม่ใช่หน้าที่ของผู้บริจาค ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ WHO Guidelines ที่ก าหนดให้เป็นหน้าที่ของ
สภากาชาดของแต่ประเทศในการรับบริจาคและคัดกรองเลือดของผู้บริจาคในประเทศของตน แนวทางการแก้ไข
ที่จะเอื้ออ านวยให้ทุกคนสามารถบริจาคโลหิตได้มากขึ้น รวมถึงประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย
ของเลือดที่ประเทศไทยมีความชุกของการตรวจพบเชื้อเอชไอวีในเลือดของผู้บริจาคที่มีสถิติที่สูงมาก
เมื่อเทียบกับต่างประเทศ และการตรวจเอชไอวีในระยะ Window Period หรือช่วงเวลาที่ตรวจไม่พบเชื้อ
ในระยะเวลา ๘ - ๑๐ วัน ซึ่ง Window Period เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ตามหลักการระบาดวิทยา
เมื่อพิจารณาจากสถิติการตรวจพบเชื้อในประเทศไทยแล้วพบว่า ผู้มีความหลากหลายทางเพศมีโอกาสที่จะ
ตรวจพบเชื้อดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มอื่น อย่างไรก็ตาม สถิติข้างต้นไม่ใช่เหตุผลที่สภากาชาดไทยจะใช้ปฏิเสธ
ไม่รับบริจาคจากบุคคลกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากสภากาชาดไทยมีหน้าที่ตรวจคัดกรองเลือดให้มีความปลอดภัย
ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจหาเชื้อที่ทันสมัย แต่บางครั้งก็อาจจะพบข้อผิดพลาดที่ท าให้ตรวจไม่พบเชื้อ
ในช่วงดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้การคัดกรองเลือดมีความถี่ถ้วนยิ่งขึ้น สภากาชาดไทยจึงน าข้อแนะน า
ของ WHO Guidelines มาใช้ประกอบการคัดกรองด้วย ในบางประเทศจึงใช้วิธีการเลื่อนระยะเวลาการบริจาค
ออกไประยะหนึ่งเพื่อเอื้ออ านวยให้ผู้บริจาคสามารถบริจาคโลหิตได้ และมีความเห็นว่า ทุกคนไม่ว่าจะเป็น
เพศใดหากมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่ปลอดภัยก็ล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือก
ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ได้มีค าวินิจฉัยว่าควรใช้วิธีการเลื่อนระยะเวลาการบริจาคออกไปแทน
การปฏิเสธการรับบริจาคอย่างสิ้นเชิง
สรุปผลการศึกษาวิเคราะห์
ุ
ค านึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๗
ที่ว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน”
และวรรคสาม “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นก าเนิด เชื้อชาติ
ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาวะทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
หรือเหตุอื่นใด จะกระท าไม่ได้” นอกจากนี้ ได้ค านึงถึงเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติความเท่าเทียม
ระหว่างเพศ พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ต้องการให้กฎหมายนี้มีมาตรการป้องกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่าง
เพศที่ชัดเจน ส่งผลให้บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้
ื่
รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร สมควรมีกฎหมายเพอก าหนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ระหว่างเพศและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสิทธิ
มนุษยชนสากลตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีที่ให้ความส าคัญว่าไม่ควรมีบุคคล
ใดถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกกีดกันจากสังคมอันเนื่องมาจากการมีอัตลักษณ์ทางเพศและวิถีทางเพศที่แตกต่าง
ไปจากเพศก าเนิดพร้อมทั้งให้นิยาม “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระท า
หรือไม่กระท าการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจ ากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมโดย
ปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่าง
จากเพศโดยก าเนิด” ตระหนักถึงความเท่าเทียมทางเพศและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งเพศ