Page 6 - บทท8-60_Neat
P. 6
- มักเกิดร่วมกับความผิดปกติของระบบรับความรู้สึก เช่น มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นเพิ่มขึ้น
(hyperesthesia) มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นที่มีอันตรายมากกว่าปกติท าให้เกิดอาการปวดมากขึ้น
(hyperalgia) การแปลความหมายของสิ่งกระตุ้นที่ไม่รุนแรงไปเป็นความปวด (allodynia) ซึ่งเป็น
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งกระตุ้นเดียวกันซ้ าๆ ท าให้เกิดความรู้สึกรุนแรงและคงอยู่
นานเกินปกติ
- เป็นอาการปวดที่ไม่คุ้นเคย มักไม่สามารถบรรยายลักษณะของอาการปวดได้อย่างแน่ชัด เช่น ปวด
แสบร้อน ปวดคล้ายไฟช็อต เป็นต้น
- อาการที่ปวดนั้นมักเกิดขึ้นเฉียบพลันและเป็นครั้งคราว
ปวดแบบปลายประสาทนี่...สุดๆ เลยครับ ปวดแปล๊บๆ
เหมือนเข็มทิ่ม หมอบอกว่าผมเป็น “Trigeminal neuralgia”
ครับ
***ผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณใบหน้าจากการอักเสบของ
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (trigeminal neuralgia) มักจะมีอาการ
ปวดบริเวณต าแหน่งแขนงประสาทที่ V2 หรือ V3 ข้างใดข้างหนึ่ง
ปัจจัยและสาเหตุ
สาเหตุที่ท าให้เกิด neuropathic pain มีหลายปัจจัยที่เกิดขึ้น ได้แก่ การได้รับบาดเจ็บหรือมีการกด
ทับของเส้นประสาท เกิดตามหลังการอักเสบติดเชื้อ เช่น งูสวัด (post-herpetic neuralgia) การติดเชื้อเอดส์
ภาวะขาดสารอาหาร การเปลี่ยนแปลงทางเมทาบอลิก เช่น โรคเบาหวาน มะเร็งระยะลุกลาม เกิดตามหลัง
การผ่าตัดตลอดจนการได้รับยาหรือสารเคมีต่างๆ ที่มีผลต่อเส้นประสาทตลอดจนอาการปวดที่เกิด
ภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ส่วนปัจจัยที่ท าให้เกิดนั้นจะมีอาการของ neuropathic pain มากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ
อุณหภูมิ เช่น อาการร้อนหรือหนาวเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ การเดินหรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ในบางครั้งอาจไม่พบว่ามีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการก็ได้
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560