Page 7 - บทท8-60_Neat
P. 7

การประเมินอาการปวด


                       การประเมินอาการปวดเป็นหัวใจส าคัญในการให้การรักษาผู้ป่วยทั้งช่วยในการรักษาและประเมิน

               ประสิทธิภาพของการรักษา สามารถท าได้โดยการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น แบบสอบถาม ค าถามหรือรูปภาพ

               ประกอบ ในการประเมินอาการปวดท าให้สามารถประเมินอาการปวดได้อย่างถูกต้องเพราะอาการปวดเป็น

               อาการทางนามธรรมของผู้ป่วยที่จะประเมินออกมาให้เป็นรูปธรรม เครื่องมือช่วยประเมินอาการปวดแบบที่

               นิยมใช้ทางคลินิก ได้แก่ การให้คะแนนความปวดด้วย visual analog scale โดยคะแนน 0 หมายถึง ไม่ปวด

               เลยและคะแนน 10 หมายถึง ปวดมากที่สุดในชีวิต แต่อาจมีข้อจ ากัดในการประเมินอาการปวดในกลุ่ม
               ผู้ป่วยเด็กหรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการสื่อสารซึ่งสามารถใช้เป็นรูปภาพในการให้คะแนนความปวดแทน

               ได้



















                                       รูปแสดงการใช้ visual analog scale ในการประเมินความปวด


                                                อาการปวดศีรษะ (Headache)


                       อาการปวดศีรษะเป็นกลุ่มอาการชั่วคราวทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย อาการปวดศีรษะแต่

               ประเภทมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไปและส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่แตกต่างกัน การให้การวินิจฉัยที่

               ถูกต้องจะน าไปสู่การรักษาที่ถูกวิธีและสามารถป้องกันอาการปวดศีรษะได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้

               ผู้ป่วยที่มีความทุกข์ทรมานจากอาการปวดศีรษะให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น


                       กลไกการเกิดพยาธิสภาพเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ทั้งภายในและนอกกะโหลกศีรษะ ซึ่งสาเหตุ

               ภายในกะโหลกศีรษะ ได้แก่ เนื้องอก การมีก้อนเลือดหรือเลือดออกในโพรงกะโหลกศีรษะ การติดเชื้อหรือ
               การอักเสบของเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง ส่วนสาเหตุภายนอกกะโหลกศีรษะ ได้แก่ การมีรอยโรคของ

               อวัยวะใกล้เคียง เช่น ตา หู ช่องโพรงไซนัส ตลอดจนความผิดปกติในระบบอื่นของร่างกาย เช่น ไข้






                                                                                  สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12