Page 298 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 298

๒๙๖


                  ๒. การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
                         การพัฒนาระบบภาคีเครือข่าย

                         ภาคีเครือข่าย หมายถึง กลุ่มบุคคล องค์กรที่มีเป้าหมายร่วมกัน มารวมตัวกันด้วยความสมัครใจ
                  เพื่อท ากิจกรรมให้บรรลุเป้าหมาย (ร่วมคิด วางแผน ร่วมท า ร่วมประเมินผล) โดยมีความสัมพันธ์แนวราบ
                  มีความเสมอภาค และเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ

                  การศึกษา รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับต่างๆ ตามแนวคิดพื้นฐานการพัฒนา
                  แบบเครือข่ายมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วย
                         ๑) กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การมัธยมศึกษาตอนต้นและศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้
                         ๒) กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การมัธยมศึกษาตอนปลายและศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้


                         ตัวชี้วัดความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย
                                - มีเป้าหมายร่วมกันชัดเจน

                                - มีระบบบริหารจัดการที่ดี
                                - มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
                                - มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

                                - มีการไหลเวียนข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
                                - มีนวัตกรรมที่เกิดจากการท างานเครือข่าย
                                - มีการสรุปบทเรียนร่วมกัน (เพื่อจัดท าแผนปีต่อไป)


                         นอกจากนี้ในการท างานร่วมกันกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นในลักษณะของเครือข่ายย่อมขึ้นอยู่กับ
                  ระดับของความร่วมมือ คือ
                         ๑)  การประสานงาน (Coordination)  หมายถึง วิธีซึ่งคนจ านวนมาก มาร่วมกันท างานเพื่อให้
                  บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ โดยก าหนดกิจกรรมต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อมอบหมาย

                  ให้ผู้รับผิดชอบปฏิบัติด้วยความสามัคคี สมานฉันท์ และมีประสิทธิภาพที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่า
                  การประสานงาน หมายถึง การจัดระเบียบวิธีการท างาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็น
                  น้ าหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้งานหรือกิจกรรมด าเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบาย

                  ขององค์กรนั้นอย่างสมานฉันท์
                         ๒)  ความร่วมมือ (Cooperation)  หมายถึง ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกัน
                  และกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง ตามเป้าหมายขององค์การหรือหน่วยงานความร่วมมือ จะเป็น
                  การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็น “เจ้าของหรือเจ้าภาพ”  งานหรือกิจกรรมนั้นๆ แล้วขอให้ฝ่ายอื่นเข้ามาร่วม มี

                  ลักษณะเกิดขึ้นเป็นครั้งๆไป ไม่มุ่งความต่อเนื่องและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม แต่มุ่ง
                  จะให้กิจกรรมนั้นๆ แล้วเสร็จตามความต้องการของฝ่ายเจ้าของงาน ความร่วมมือเป็นการช่วยเหลือด้วย
                  ความสมัครใจ แม้จะไม่มีหน้าที่โดยตรง อาจจะท าเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลาก็ได้ แม้กระทั่ง
                  อาจให้ความร่วมมือท าบางเรื่องบางเวลา

                         ๓)  การท างานร่วมกัน (Collaboration)  หมายถึง การที่บุคคล ตั้งแต่ ๒  คนขึ้นไป หรือ
                  องค์กรตั้งแต่ ๒ องค์กรขึ้นไป มาท างานร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม และรับรู้ว่าตนเป็นส่วน
                  หนึ่งของกลุ่มตามโครงสร้างที่มีอยู่ในองค์กร รวมทั้งเข้าใจวัตถุประสงค์ของการท างานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุ
                  จุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ปฏิบัติงาน ต่างก็เกิดความพอใจในการท างานนั้น





                  คู่มือปฏิบัติงาน
                  โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303