Page 300 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 300
๒๙๘
๓.๒ มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการด ารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข
๓.๓ มาตรา ๗ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตส านึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง
การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย และส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ
๓.๔ มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก
๑) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตส าหรับประชาชน
๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๓) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
๓.๕ มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้น
พื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายเพื่อให้เป็นไปตาม
ความมุ่งหมายและหลักการของการศึกษา จึงก าหนดแนวการจัดการศึกษาในมาตรา ๒๒ – ๓๐ ซึ่งอยู่ในหมวด ๔
ของ พรบ. และถือเป็นหัวใจของ พรบ.ในการที่จะจัดการศึกษาให้ประสบความส าเร็จบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
๓.๖ มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความส าคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ
พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
๔. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙
ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของ
ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ร่วมกันก าหนดวิสัยทัศน์ และทิศทางการพัฒนาประเทศ เห็นพ้องร่วมกันน้อมน า
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาน าทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งให้เกิด
ภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่ความสมดุลและยั่งยืน
เตรียมความพร้อม คน สังคม และระบบเศรษฐกิจให้สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่าง
เหมาะสม ให้ความส าคัญกับการพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร รวมทั้งสร้าง
โอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิตและ
การบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
๕. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๙
แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับเดิม (พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๙) นั้น เป็นแผนระยะยาวที่สอดคล้อง
กับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเห็นควรให้คงปรัชญาหลัก เจตนารมณ์
และวัตถุประสงค์ของแผนฉบับเดิมไว้ แล้วปรับปรุงในส่วนของนโยบายเป้าหมาย และกรอบการด าเนินงาน
ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสรุปสาระส าคัญได้ดังนี้
๓.๒ ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด
การจัดท าแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๙) ยึดหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล
มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการ
แบบองค์รวมที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
คู่มือปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา