Page 299 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 299

๒๙๗

                         ๔)  การมีส่วนร่วม (Participation)  หมายถึง การที่สมาชิกทุกคนของหน่วยงานหรือองค์กร

                  ร่วมกันด าเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีลักษณะของกระบวนการ (Process)  มีขั้นตอนที่มุ่งหมายจะให้
                  เกิดการเรียนรู้ (Learning) อย่างต่อเนื่อง มีพลวัต (Dynamic) กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่าง
                  ต่อเนื่องสม่ าเสมอ มีการแก้ปัญหา การร่วมกันก าหนดแผนงานใหม่ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนในความสัมพันธ์

                  ของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมด าเนินการ การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์กรหรือเครือข่าย
                  ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร และที่ส าคัญผู้ที่มีส่วนร่วมจะมี
                  ความรู้สึกเป็นเจ้าของเครือข่าย ความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนเครือข่ายที่ดีที่สุด


                  ๓. การวางแผนการบริหารงานการศึกษา
                         ๓.๑ นโยบายและการวางแผนการศึกษา
                         การวางแผนการศึกษา เป็นเครื่องมือส าคัญยิ่งของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ เนื่องจากการ

                  วางแผนเป็นขั้นตอนแรกที่จะต้องด าเนินการก่อนสิ่งอื่นๆทั้งสิ้นมิฉะนั้นแล้วผู้บริหารจะไม่มีกรอบ หรือเค้า
                  โครงการด าเนินงานที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กันหรือกล่าวได้ว่าไม่มีคู่มือที่ใช้ก ากับควบคุมการด าเนินงานให้
                  บรรลุตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาที่ก าหนดไว้ การวางแผนการศึกษาจึงส าคัญยิ่งต่อการบริหารจัด

                  การศึกษาให้ประสพความส าเร็จ ที่ควรเกิดจากผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายร่วมกันวางแผนอย่างเป็นกระบวนการ
                  โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษา การก าหนด
                  วัตถุประสงค์ การจัดท าแผน การจัดท ารายละเอียดของแผน การน าแผนไปปฏิบัติ การติดตามประเมินผล
                  การวางแผนการศึกษาให้ประสบความส าเร็จ ต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม

                  การเมือง ฯลฯ เป็นไปตามความต้องการและบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานการศึกษาแต่ละระดับ ดังนั้น
                  จึงจ าเป็นต้องศึกษา วิเคราะห์พิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายการศึกษา
                  แผนพัฒนาฯ นโยบายทางการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                         ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรงมี ๒ มาตรา

                  คือ
                         ๑.๑ มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีสิทธิ์เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี
                  ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                         ๑.๒  มาตรา ๘๑  รัฐต้องจัดการศึกษา อบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษา อบรมให้เกิด

                  ความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับ
                  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมจะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ท าให้ประเทศไทยมีกฎหมาย
                  เกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ นั่นคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                         ๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามี ๒ มาตรา คือ
                         ๒.๑ มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิ์เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี
                  ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                         ๒.๒ มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย
                  และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ

                         ๓. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
                         ๓.๑  มาตรา ๓๓  สภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย
                  แผนและมาตรฐานการศึกษาของชาติ นโยบายและแผนด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

                  จาก พรบ. ๒๕๔๒  มาตรา ๓๓  ท าให้เกิดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติขึ้นมาใช้ในการ
                  บริหารจัดการศึกษาของไทย

                                                                                               คู่มือปฏิบัติงาน
                                                                           โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304