Page 367 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 367

๓๖๓


                   ของการท างานที่มีพลังเพิ่มมากขึ้นซึ่งแน่นอนเหลือเกินว่าประสิทธิภาพของการสื่อความหมายที่ดีย่อม
                   ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ในเชิงสร้างสรรค์ เกิดความร่วมมือ และเกิดการยอมรับร่วมกัน

                   ในสังคมโดยรวม
                          ๑๑.๒ การประชาสัมพันธ์
                          ความหมายและขอบข่าย
                          การประชาสัมพันธ์ตรงกับค าในภาษาอังกฤษคือ Public  Relations:  PR  มีความหมาย

                   และความส าคัญ โดยสรุปดังนี้ ความหมายของการประชาสัมพันธ์ถ้าตีความด้านภาษา อาจมีความหมาย
                   ได้ ๓ ทางด้วยกันกล่าวคือ
                          ๑) หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันหรือบุคคล กับกลุ่มบุคคลหรือประชาชน
                          ๒) หมายถึงช่องทางหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อสื่อความสัมพันธ์

                          ๓) หมายถึงปริมาณ สภาพ คุณภาพ หรือฐานะของความสัมพันธ์ของสถาบันหรือบุคคลกับกลุ่ม
                   บุคคลหรือประชาชนเอ็ดเวอร์ด เบอร์เนย์ (Edward  L.  Bernays) กล่าวว่าการประชาสัมพันธ์มี
                   ความหมาย ๓ ประการ คือ
                          ๑) เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ

                          ๒) ชักชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและเห็นชอบกับวัตถุประสงค์และวิธีการ
                   ด าเนินงานของสถาบัน
                          ๓) ช่วยให้วัตถุประสงค์และวิธีการด าเนินงานผสมผสานกลมกลืนกับความคิดเห็นของประชาชน

                   ที่เกี่ยวข้องในขณะเดียวกันได้มีการนิยามความหมายและค าจ ากัดความของ “การประชาสัมพันธ์”
                   ไว้หลากหลายและน่าสนใจ  เช่น
                          - การประชาสัมพันธ์เป็นผลรวมแห่งความรู้สึกทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดยสถาบันเอง และโดยบุคคล
                   ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันนั้น
                          - การประชาสัมพันธ์คือการด าเนินงานประเมินผลทัศนคติของกลุ่มชน จนสามารถให้

                   ข้อเสนอแนะในการด าเนินนโยบายแก่หน่วยงานหรือบุคคล  เพื่อให้ได้รับความเข้าใจและเป็นที่ยอมรับ
                   ของประชาชน
                          - การประชาสัมพันธ์เป็นผลรวมแห่งความรู้สึกทั้งหลายที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยสถาบันเองและบุคคล

                   ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันนั้น
                          - การประชาสัมพันธ์คือการด าเนินการเพื่อชักจูงใจ หรือความคิดเห็นของประชาชนตาม
                   แผนการที่ก าหนดไว้โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย
                          ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า “การประชาสัมพันธ์ คือ ความพยายามของหน่วยงานหนึ่งที่สร้าง

                   หรือปรับความสัมพันธ์กับกลุ่มชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีที่จะน าไปสู่
                   การบรรลุเป้าหมายที่หน่วยงานนั้นได้วางไว้โดยราบรื่น”


                          ๑๑.๓  ลักษณะส าคัญของการประชาสัมพันธ์
                          จากนิยามศัพท์ที่กล่าวถึงเบื้องต้น อาจจ าแนกให้เห็นลักษณะส าคัญของการประชาสัมพันธ์
                   ว่าจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบส าคัญดังต่อไปนี้  กล่าวคือ
                          ๑) มีสถาบัน องค์กร สมาคม หน่วยงานราชการโรงเรียน ฯลฯ ที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมาย

                   วัตถุประสงค์แน่นอน
                          ๒) มีการวางแผน ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ซึ่งหมายถึงมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนในภารกิจงาน



                                                                                           คู่มือปฏิบัติงาน
                                                                       โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
   362   363   364   365   366   367   368   369   370   371   372