Page 79 - Bang rak111
P. 79
72
(แยกสีลม-นราธิวาส) และถนนคอนแวนต (แยกคอนแวนต) และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยก
ศาลาแดง) สีลมเปนถนนที่มีเกาะกลางและมีตนไมใหญปลูกเรียงรายไปตลอดแนวถนนและเปนถนน
สําคัญสายแรกที่เดินสายไฟฟาและสายโทรศัพทไวใตดินถนนสีลมสรางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พรอม ๆ
กับถนนเจริญกรุง ถนนบํารุงเมือง และถนนเฟองนคร เดิมเรียกชื่อวา “ถนนขวาง” เดิมเปนคันดินที่
เกิดจากการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรงคันดินจึงกลายเปนถนนที่เรียกกันวาถนน
ขวาง ชาวตางประเทศไดนําเครื่องสีลม ซึ่งใชสําหรับการวิดน้ํามาติดตั้งที่ถนนขวาง โดยที่บริเวณทั่วไป
ยังเปนทุงนาโลง เครื่องสีลมวิดน้ําจึงดูเดนและกลายเปนชื่อเรียกของถนนมาถึงปจจุบัน
ปจจุบันถนนสีลมนับเปนถนนธุรกิจสายสําคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีผูขนานนาม
ถนนสีลมวา “วอลลสตรีตของกรุงเทพมหานคร” ถนนสีลมมีสํานักงานใหญธนาคาร โรงแรม อาคาร
สํานักงาน ตลอดจนศูนยการคาขนาดใหญเรียงรายอยูทั้งสองฝงถนน เปนถนนทองเที่ยวที่เปนแหลง
ซื้อสินคาและขายของที่ระลึกสําหรับนักทองเที่ยวตามบาทวิถีในเวลากลางคืน รวมทั้งใน “ซอยละลาย
ทรัพย” นอกจากนี้ ยังเคยมีโครงการวัฒนธรรมเปดเปนถนนคนเดินในวันอาทิตย ถนนสีลมยังไดชื่อวา
เปนถนนการเมืองยุคใหมจากการเดินขบวนของนักธุรกิจเพื่อขับไลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพัน
ตํารวจโททักษิณ ชินวัตรใหออกจากตําแหนงนายกรัฐมนตรีถนนสีลมมีรถไฟฟาผานจากถนนพระราม
ที่ 4 ขึ้นลงที่สถานีศาลาแดงและเลี้ยวออกไปถนนสาทรที่สถานีชองนนทรี
1. อาคารพาณิชย
1.1 อาคารธนิยะ
1.2 บริษัทมหาชนจํากัดดุสิตธานี
1.3 อาคารสีบุญเรือง
1.4 ศูนยการคาสีลม
1.5 อาคาร CP Tower
1.6 อาคารลิเบอรตี้
1.7 อาคารวรรัตน
1.8 อาคารSilom Complex
2. อาคารสถานที่ราชการ
2.1 กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรม
2.2 สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางรัก 1
2.3 สํานักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 4
2.4 ที่ทําการไปรษณียสีลม
3. แหลงเศรษฐกิจถนนสีลมนับวาเปนถนนที่รวบรวมอาคารศูนยการคา สถาบันการเงิน
ธนาคารและแหลงรวมธุรกิจทุกประเภทในการใหบริการแกประชาชน เปนยานธุรกิจสายสําคัญของ
กรุงเทพมหานคร มีโรงแรมที่พักหรูหรานําเงินตราเขาสูประเทศเปนจํานวนมาก
กลาวโดยสรุปถนนสีลม (Thanon Si Lom) สรางขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม
เกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 4 อันเปนยุคเริ่มตนการปฏิรูปประเทศ ใหเจริญเติบโตไปในแนวทางเดียวกัน
กับนานาอารยประเทศ ซึ่งมีชาติตะวันตกเปนแบบแผนถนน เดิมเรียกชื่อวา “ถนนขวาง” เดิมเปนคัน
ดินที่เกิดจากการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรงคันดินจึงกลายเปนถนนที่เรียกวา