Page 36 - Merged-๒๐๑๘๑๑๐๙-๑๕๕๘๑๒
P. 36

เมาะอินังชวา จินตาซายัง เมาอินังลามา อาเนาะดิดิ๊ บุหงาร าไป หรือรุมบ้ารองเง็ง ในการจัดการแสดง
                  ผู้จัดการแสดง ผู้จัดนิยมจัดแสดงเพียงครั้งละ ๓ - ๕ เพลง โดยเลือกจาก ๘ เพลง ดังกล่าว
                         สถานที่และโอกาสที่แสดง แต่เดิมรองเง็งในประเทศไทยนั้นมีเล่นกันเฉพาะในบรรดา ผู้สูงศักดิ์ เช่น

                  ในวังของพระยาพิพิธเสนามาตย์ ในโอกาสรื่นเริงสนุกสาน โดยเจ้าภาพจัดเตรียมผู้เต้นฝุายหญิงไว้เป็นคู่เต้น
                  ของแขกที่รับเชิญมาในงาน เช่น งานเลี้ยงหรืองานพิธีการต่าง ๆ ดังนั้น ผู้เต้นจึงมีเป็นจ านวนมาก สถานที่
                  เต้นจึงต้องเป็นห้องโถงที่มีขนาดกว้างพอสมควร จุคู่เต้นได้จ านวนมาก

                                                        ซีละ เป็นการต่อสู้ปูองกันตัวแบบหนึ่งของชาวไทยมุสลิม

                                                เนื่องจากมีกระบวนท่าที่สง่างาม ภายหลังจึงจัดให้มีการแสดงซีละเพื่อ
                                                ดูศิลปะท่าร ามากกว่าจะต่อสู้จริงๆ นิยมเล่นในงานมงคลทั่วไป
                                                โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
                                                        ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่

                                                ได้รับความนิยมมากประเภทหนึ่ง ค าว่า “ลิเก” หรือ “ดิเกร์” เป็น

                                                ค าศัพท์เปอร์เซีย มีความหมาย ๒ ประการ คือ
                                                        ๑.  “ลิเก” หรือ “ดิเกร์” หมายถึงเพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า

                                                ปกติการขับร้องเนื่องในเทศกาลวันก าเนิดพระนาบี
                          ๒.  “ลิเก” หรือ “ดิเกร์” หมายถึงกลอนโต้ตอบที่นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มหรือเป็นคณะ เรียกว่า
                  “ลิเกฮูลู” บางท่านเล่าว่าลิเกฮูลูได้รับแบบอย่างมาจากคนพื้นเมืองเผ่าซาไก ซึ่งมีการเล่นอย่างหนึ่งเรียกตาม

                  ภาษามาลายูว่า “มะนอฆอออแฆสาแก” แปลเป็นภาษาไทยว่า มโนราคนซาไก
                          ผู้รู้บางท่านกล่าวว่าลิเกฮูลู ได้น าเอา
                  แบบอย่างการละเล่นล าตัดของไทยผสมเข้าไปด้วย
                  บางท่านเล่าว่าในสมัยปกครอง ๗ หัวเมือง ถ้ามีงาน

                  พิธีต่างๆ เช่น เข้าสุหนัต มาแกปูโละ เจ้าเมืองต่างๆ
                  มาร่วมพิธีและชมการแสดง เช่น มะโย่ง โนรา และละ
                  ไป ละไปนั้น คือการร้องเพลงล าตัดภาอาหรับและ
                  เรียก “ซีเกร์มัรฮาแบบ” การร้องเป็นภาษาอาหรับ
                  ถึงแม้จะไพเราะแต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจจึงน าเอา

                  เพลงภาษาพื้นเมืองมาร้องให้เข้ากับจังหวะร ามะนา

                  จึงกลายมาเป็นลิเกฮูลูสืบทอดจนถึงป๎จจุบัน
                         วิธีการละเล่น ก่อนการแสดงลิเกฮูลูนั้น จะมีการร้องป๎นตนอีนังก่อนตัวอย่างบทป๎นตนอินัง เช่น

                                        บูรงตะตือเบะ                                         บูรงฌือลาโตะ
                                        ตือรือแบมือแลวอ                                  ตาญงตะตานิ
                                        มีเตาะตาเบะ                                         ซือลากอดาโตะ
                                        ดาตู บือตือรอ                                        ดารีซีนี

                         (นกตะตือเบะ นกฌือลาโตะ บินร่อนเหนือแหลมตานี ขอคารวะพระผู้ทรงศรี ภูบดีและโอรสแห่งสถาน)
                  กล่าวกันว่าเจ้าเมืองตานีสมัยอดีต มักเรียกคณะป๎นตนอินังที่มีชื่อเสียงเข้าไปแสดงในวัง โดยเฉพาะเนื่องใน
                  พิธีเข้าสุหนัดลูกชาย ต่อมาคณะป๎นตนอินังก็เปลี่ยนมาแสดงลิเกฮูลู ชาวบ้านมักเรียกการแสดงประเภทนี้

                  แตกต่างกัน เช่น ที่กลันตันเรียก “ลิเกบารัต” หรือ “บาฆะ” (ลิเกตะวันตก) ป๎ตตานี เรียก “ลิเกฮูลู” (ลิเกเหนือ)


                  สรุปผลการด าเนินงานของส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ประจ าปี ๒๕๖๑                 31
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41