Page 37 - Merged-๒๐๑๘๑๑๐๙-๑๕๕๘๑๒
P. 37

ผู้เล่นลิเกฮูลูหลายท่านกล่าวถึงการฝึกว่า บางคน
                                                        ข้ามฝ๎่งไปเรียนที่กลันตัน โดยใช้เวลาประมาณ ๑ เดือนสมัย
                                                        โบราณไม่มีการฝึกหัดผู้หญิงเล่นลิเกฮูลู แต่สมัยนี้ดาราลิเกฮูลู

                                                        หลายคนเป็นหญิง เช่น คณะเจ๊ะลีเมาะ ซึ่งมีลูกคู่เป็นหญิง
                                                        ล้วน และบางคนเป็นดาราโทรทัศน์อันเป็นยอดนิยมของ

                                                        มาเลเซีย
                         ป๎จจุบันลิเกฮูลูเป็นยอดนิยมของชาวไทยมุสลิม นอกจากจะแสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัต งาน

                  เมาลิด งานฮารีรายอแล้ว แม้แต่สถานีวิทยุในท้องถิ่นก็จัดรายการเสนอลิเกฮูลูและเป็นที่ชื่นชอบของ

                  ชาวบ้านทั่วไป
                         มะโยง เป็นการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองหรือเพื่อความรื่นเริง ก าเนิดของมะโย่งมีผู้สันนิษฐานแตกต่าง

                  กันไปหลายกระแส ดังนี้
                         ๑. มะโย่งเป็นการแสดงที่เกิดจากในวังของเมืองป๎ตตานี เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้ว
                  จากนั้นแพร่หลายไปทางกลันตัน

                         ๒. พิจารณาจากรูปศัพท์ ซึ่งกล่าวว่า ค าว่า “มะโย่ง” มาจากค าว่า “มัคฮียัง” (MAKHIANG) แปลว่า
                  เจ้าแม่โพสพ เนื่องจากพิธิท าขวัญข้าวในนาของชาวมุสลิมในสมัยโบราณนั้น จะมีหมอผู้ท าพิธีทรงวิญญาณ

                  เจ้าแม่โพสพเป็นการแสดงความกตัญํูที่เจ้าแม่โพสพ มีเมตตาประทานน้ านมมาให้เป็นเมล็ดข้าว เพื่อเป็น
                  โภชนาหารของมนุษย์ตลอดทั้งเพื่อขอความสมบูรณ์พูนสุขความสวัสดิมงคลให้บังเกิดแก่ชาวบ้านทั้งหลาย

                  ในพิธีจะมีการร้องร าบวงสรวงด้วย ซึ่งในภายหลังได้วิวัฒนาการมาเป็นละครที่เรียกว่า “มะโย่ง”
                         ๓. มะโย่งเป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวาตั้งแต่ครั้งโบราณ แล้วเป็นที่นิยม แพร่หลายใน
                  หมู่ชาวไทยมุสลิมในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้อธิบายเพิ่มเติมโดยกล่าวถึงที่มาของค าว่า มะโย่ง
                  ค าว่า มะหรือเมาะ แปลว่า แม่ ส่วนโย่ง หรือโยง เป็นพระนามของเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งแห่งชวา จึงชวนให้
                  สันนิษฐานต่อไปได้ว่า เหตุที่เรียกละครประเภทนี้ว่า มะโย่ง อาจเป็นตัวพระ จึงเรียกกันโดยใช้ค าว่า มะ

                  หรือ เมาะน าหน้า
                             เครื่องดนตรี นิยมใช้กันอยู่ ๓ ชนิด คือ รือบะ จ านวน ๑ - ๒ คน กลองแขก ๓ หน้า จ านวน ๒ ใบ
                  และฆ้องใหญ่เสียงทุ้มแหลมอย่างละใบ มะโย่งบางคณะยังมีเครื่องดนตรีอีก ๒ ชิ้น คือ กอเลาะ(กรับ)

                  จ านวน ๑ คู่และจือแระ จ านวน ๓ - ๔ อัน (จือแระ ท าด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๑๖–๑๘ นิ้วใช้ตี)
                         ผู้แสดง มะโย่งคณะหนึ่ง ๆ มีคนประมาณ ๒๐ - ๓๐ คน เป็นลูกคู่เล่นดนตรี ๕ - ๗ คน นอกนั้น

                  เป็นผู้แสดงและเป็นผู้ช่วยผู้แสดงบ้าง ผู้แสดงหรือตัวละครส าคัญมี ๔ ตัว คือ
                            ๑. ปะโย่ง หรือเปาะโย่ง แสดงเป็นพระเอก มีฐานะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านาย ตัวปะโย่งจะใช้ผู้หญิงร่าง

                  แบบบางหน้าตาสะสวย มีเสน่ห์ ขับกล่อมเก่ง น้ าเสียงดี เป็นผู้แสดง
                             ๒.มะโย่งหรือเมาะโย่ง แสดงเป็นนางเอก มีฐานะเป็นเจ้าหญิงหรือสาวชาวบ้านธรรมดาตามแต่เนื้อ
                  เรื่องที่แสดง ใช้ผู้หญิงร่างแบบบาง หน้าตาดีเป็นผู้แสดง
                             ๓. ปือรันมูดอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ ๑ มีฐานะเสนาคนสนิทหรือคนใช้ใกล้ชิดของปะโย่ง ใช้ผู้ชาย
                  หน้าตาท่าทางน่าขบขันชวนหัว เป็นผู้แสดง ปือรันมูดอ จะพูดจาตลกคะนอง สองแง่สองมุม ฉลาดทันคน

                  กล้าหาญ แต่บางครั้งโงทึบและขลาดกลัว ตาขาว
                            ๔. ปือรันดูวอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ ๒ มีฐานะเป็นเสนาคนสนิทตัวรองของเปาะโย่ง เป็นเพื่อสนิทของ

                  ปือรันมูดอ จะเป็นตัวที่คอ ยสนับสนุนให้ปือรัน มูดอสามารถตลกจี้เส้นได้มากขึ้น


                  สรุปผลการด าเนินงานของส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ประจ าปี ๒๕๖๑                 32
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42