Page 42 - Merged-๒๐๑๘๑๑๐๙-๑๕๕๘๑๒
P. 42

สุดท้องก็รบเร้าจะใคร่ได้ชม พระยาเมืองจึงปุาวประกาศรับสมัครช่างผู้มีฝีมือหลายคนให้ประดิษฐ์รูปนกตาม
                  ค า บอกเล่าของชาวประมงซึ่งได้เห็นรูปที่แตกต่างกันนั้น ช่างทั้งหลายประดิษฐ์รูปนกขึ้นรวม 4 ลักษณะ คือ
                         1. นกกาเฆาะซูรอ หรือนกกากะสุระ นกชนิดนี้ตามการสันนิษฐานน่าจะเป็น “นก การเวก” เป็น

                  นกสวรรค์ที่สวยงามและบินสูงเทียมเมฆ การประดิษฐ์มักจะตกแต่งให้มีหงอนสูงแตกออกเป็นสี่แฉก นกชนิด
                  นี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า “นกทูนพลู” เพราะบนหัวมีลักษณะคล้ายบายศรีพลูที่ประดับในถาดเวลาเข้าขบวน
                  แห่ ท าเป็นกนกลวดลายสวยงามมาก มักน าไม้ทั้งท่อนมาแกะสลักตานก แล้วประดับด้วยลูกแก้วสี ท าให้
                  กลอกกลิ่งได้ มีงายื่นออกมาจากปากคล้ายงาช้างเล็ก ๆ พอสมกับขนาดของนก

                         2. นกกรุดาหรือนกครุฑ มีลักษณะคล้ายกับครุฑที่เห็นโดยทั่วไป
                         3. นกบือเฆาะมาศหรือนกยูงทอง มีลักษณะคล้ายกับนกกาเฆาะซูรอมาก การประดิษฐ์ตกแต่งรูป
                  นกพญายูงทองนั้น ต้องท ากันอย่างประณีตถี่ถ้วน และใช้เวลามาก

                         4. นกบุหรงซีงอหรือนกสิงห์ มีรูปร่างคล้ายราชสีห์ ตามคตินกนี้มีหัวเป็นนกแต่ตัวเป็นราชสีห์ ตาม
                  นิทานเล่ากันว่ามีฤทธิ์มาก ทั้งเหาะเหินเดินอากาศ และด าน้ าได้ ปากมีเขี้ยวงาน่าเกรงขาม
                             ในการประดิษฐ์นกนิยมใช้ไม้เนื้อเหนียว เช่น ไม้ตะเคียน ไม้กายีร น ามาแกะเป็นหัวนก เนื้อไม้
                  เหล่านี้ไม่แข็งไม่เปราะจนเกินไป สะดวกในการแกะของช่าง ทั้งยังทนทานใช้การได้นานปี ส าหรับตัวนกจะ
                  ใช้ไม้ไผ่ผูกเป็นโครง ติดคานหาม แล้วน ากระดาษมาติดรองพื้น ต่อจากนั้นก็ตัดกระดาษสีเป็นขน ประดับ

                  ส่วนต่าง ๆ สีที่นิยมได้แก่ สีเขียว สีทอง (เกรียบ) สีนอกนั้นจะน ามาใช้ประดับตกแต่งเพื่อให้สีตัดกันแลดูเด่น
                  ขึ้น

                                                                  การเกิดและการโกนผมไฟ   รองศาสตราจารย์
                                                           เสาวนีย์   จิตต์หมวด ได้กล่าวไว้ในหนังสือวัฒนธรรม
                                                           อิสลามเกี่ยวกับการเกิดว่า “องค์อัลลอฮ” เป็น ผู้ให้
                                                           รูปลักษณ์ของมนุษย์ โดยพระองค์ทรงสร้างมนุษย์คนแรก
                                                           ขึ้นมาจากดิน แล้วทรงเปุาวิญญาณเข้าไป คือ ท่านนบี

                                                           อาดัม และคู่ครองของท่านคือ พระนางฮาวา จากนั้น
                                                           มนุษยชาติก็ก าเนิดขึ้นมาด้วยพระประสงค์ของพระองค์
                  โดยผ่านจากการผสม กันของเชื้ออสุจิกับไข่ในมดลูก ซึ่งเป็นเพศใดก็แล้วแต่พระประสงค์ พระองค์ได้

                  ประทานโองการไว้ว่า “เราได้สร้างมนุษย์จากแก่นแท้ของดิน แล้วเราได้ท าให้เขาเป็นเชื้ออสุจิอยู่ในที่พักอัน
                  มั่นคงแล้ว เราได้สร้างให้เชื้ออสุจิเป็นก้อนเลือด แล้วเราได้สร้างให้ก้อนเลือดเป็นก้อนเนื้อ แล้วเราได้ท าให้
                  ก้อนเนื้อมีกระดูก แล้วเราได้หุ้มกระดูกด้วยเนื้อ แล้วเราได้ (ให้มีวิญญาณ) ท าให้เขาเกิดมาเป็นอีกก าเนิด
                  หนึ่ง ดังนั้นความจ าเริญยิ่งแต่อัลลอฮ ผู้ทรงเป็นเลิศยิ่งแห่งปวงผู้สร้าง”
                         ดังนั้น ผู้เป็นพ่อแม่จะต้องรับผิดชอบดูแลเด็ก ซึ่งถือว่าเป็นของฝากจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ซึ่งให้ความ

                  ไว้วางใจให้ดูแลตลอดจน อบรมให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า นับว่าเป็นของขวัญอันล้ าค่าที่พระผู้เป็นเจ้า
                  มอบให้แก่บิดามารดา
                         เมื่อหญิงมีครรภ์ทราบว่าตั้งครรภ์จะต้องดูแลตัวเองในเรื่องสุขภาพ ต้องฝากครรภ์และท าคลอดกับ

                  หมอต าแยซึ่งเรียกว่า มะมิแด หรือโต๊ะบิแด หรือโต๊ะบิดัน หมอต าแยจะคอยดูแลโดยนัดวันมาตรวจครรภ์
                  ถ้าผิดปกติก็จะแนะน าให้ไปพบสูตินารีแพทย์ในเมือง เพราะมีเครื่องมือที่ดีกว่า ถ้าครรภ์ปกติก็จะดูแลต่อไป
                  จนกระทั่งคลอด หมอต าแยบางรายมีการท าขวัญ ให้ก าลังใจแก่หญิงที่ตั้งครรภ์ เช่น เมื่อตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน
                  ให้น ามะนาว 1 ผล ปอกเปลือกให้เกลี้ยง เข็ม 1 เล่ม น้ ามันมะพร้าวพอสมควรไปให้หมอต าแย หมอต าแย
                  จะเสกน้ ามันมะพร้าวแล้วน ามาทาบริเวณหน้าท้องของผู้ตั้งครรภ์ และใช้มะนาวคลึงหน้าท้องเพื่อให้คลอดง่าย


                  สรุปผลการด าเนินงานของส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ประจ าปี ๒๕๖๑                 37
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47