Page 39 - Merged-๒๐๑๘๑๑๐๙-๑๕๕๘๑๒
P. 39
ประเพณีวันชิงเปรต หรืองานเดือนสิบ หรือ
งานสารทไทย เป็นงานประเพณีของชาวพุทธในจังหวัด
ป๎ตตานี ที่ท ากันในเดือน 10 ของจันทรคติทุกปี ปีละ 2
ครั้ง แต่ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง จะมีงาน 3 ครั้ง ซึ่งแต่
ละครั้งจะเรียกวันแตกต่างกันไป เช่น ถ้าจัดครั้งแรกเรียก
วันรับเปรตวันส่งเปรตเป็นประเพณีท าบุญเพื่ออุทิศส่วน
กุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วที่เรียกว่า “บุพ
เปตพลี”
ประเพณีท าบุญเดือนสิบเกิดจากความเชื่อว่า
บรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้วบางพวกก็ไปสู่ที่ชอบบางพวกไปสู่ที่ชั่วได้รับทุกข์ทรมานต่างๆนานา และ
ได้รับความอดอยากอย่างแสนสาหัสผู้มีบาปกรรมต้องไปทนทุกข์ทรมานเป็นเปรตอยู่ในอบายภูมิพญา
ยมบาลผู้ท าหน้าที่ลงทัณฑ์ในยมโลกจะได้ปลดปล่อยเปรตเหล่านี้ให้มาเยือนโลก เยี่ยมลูกหลาน พร้อมทั้งรับ
ส่วนกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้ โดยก าหนดท าปีละ 2 ครั้ง คือวันแรม 1 ค่ า เดือนสิบ เป็นวันรับตายายหรือรับ
เปรต ครั้งที่ 2 ในวันแรม 15 ค่ า เดือนสิบ เป็นวันส่งตายายหรือส่งเปรต
ก่อนวันท าบุญชาวบ้านจะเตรียมอาหารและขนม เดือนสิบ ซึ่งเป็นขนมที่ท าขึ้นในการท าบุญเดือน
สิบโดยเฉพาะ ส าหรับชาวป๎ตตานีอาจจะแตกต่างจากจังหวัดอื่นบ้าง แต่ที่ส าคัญซึ่งขาดไม่ได้ คือ ขนมเจาะหู
กับข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อเป็นหลัก นอกนั้นจะใช้ขนมอื่นก็ได้ เช่น ขนมลา ขนมเทียน เมื่อถึงวันงาน
ชาวบ้านก็จะเตรียมส ารับกับข้าว ขนม ข้าวต้ม ผลไม้ ไปถวายพระ แต่ที่เป็นพิเศษ คือ ข้าวของส าหรับเปรต
นิยมน าอาหารมาห่อด้วยใบกะพ้อเป็นรูปสามเหลี่ยมเหมือนกับห่อข้าวต้ม บางห่ออาจมีเหรียญหรือธนบัตร
เสร็จแล้วร้อยเป็นพวง
การมาท าบุญที่วัด นอกจากการเลี้ยงพระซึ่งเป็นภารกิจปกติแล้ว ทุกคนจะน าอาหารมา
รับประทานร่วมกัน และเป็นพิเศษคือน าขนม ข้าวต้ม มาแจกผู้สูงอายุที่นับถือ การตั้งอาหารให้เปรต นิยม
ตั้งบนร้านเปรตที่ท าไว้สูง มีเสาเดียวผู้น าอาหารไปวางปีนขึ้นทางบันได เมื่อจะชิงเปรตก็เอาบันไดที่พาดออก
ผู้ที่จะปีนร้านเปรตก็จะแต่งตัวเป็นเปรต ซึ่งต้องใช้ความพยายามมาก เพราะเสาตัวเดียวทาด้วยน้ ามันหรือ
ของเหลวที่ลื่นเป็นที่สนุกสนาน เชื่อว่าถ้าได้น าเปลือกหรือใบกะพ้อที่แกะเอาอาหารที่ห่อออกหมดแล้วไป
แขวนที่ ต้นไม้ผลจะท าให้ออกดอกผลดกบางแห่งนอกจากจะตั้งร้านเปรตในวัดแล้วยังท านอกวัดด้วยเพื่อให้
เปรตบางจ าพวก ที่บาปหนาที่ไม่สามารถเข้าวัดได้มีโอกาสได้รับส่วนบุญอันนี้
ประเพณีลากพระหรือชักพระ ประเพณีลากพระ หรือประเพณีชักพระ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบ
ต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงป๎จจุบัน ประเพณีลากพระในสมัยก่อนนับว่าเป็นประเพณีใหญ่ทั้งชาวบ้าน
และชาววัด คือ ชาวบ้านต้องเตรียมเนื้อเตรียมตัว เตรียมข้าวเหนียวท าต้ม เตรียมที่จะช่วยเหลือวัดตามที่
ทางวัดต้องการ และทางวัดก็ต้องเตรียมจัดท าเรือพระส าหรับให้ชาวบ้านท าพิธีชักลาก เตรียมการโฆษณา
ให้ชาวบ้านทราบด้วยการตีโพนประโคมทั้งกลางวันและกลางคืน ประเพณีลากพระนี้นับว่าเป็นโอกาส
ส าคัญที่หนุ่ม ๆ สาว ๆ มีเวลาได้พบปะวิสาสะกัน แต่งกายประกวดประชันกัน ท าให้รู้สึกตื่นตาตื่นใจเป็น
พิเศษ ก่อนการลากพระ ๔ – ๕ วัน หนุ่มสาวจะต้องเตรียมจัดหาเสื้อผ้าใหม่ส าหรับแต่งตัวในวันลากพระ
ประวัติเดิมเกี่ยวกับการลากพระนี้ เล่ากันว่าเวลาเข้าพรรษา หรือเรียกว่า พรรษากาลนั้น คือ
ตั้งแต่เดือน ๘ แรม ๑ ค่ า จนถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ า รวมเวลา ๓ เดือน เป็นเวลาที่พระพุทธเจ้า
เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเมื่อถึงเดือน ๑๑ แรม ๑ ค่ า เป็นวันที่พระ
พุทธองค์เสด็จลงมาสู่มนุษยโลก ปะชาชนพลเมืองที่ทราบข่าวต่างก็พากันไปเฝูาต้อนรับด้วยความยินดีและ
สรุปผลการด าเนินงานของส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ประจ าปี ๒๕๖๑ 34