Page 35 - Merged-๒๐๑๘๑๑๐๙-๑๕๕๘๑๒
P. 35
ระดานเพดาน และที่คอสองมีภาพกิจกรรมพุทธประวัติและชาดกซึ่งเป็นฝีมือของช่างพื้นเมือง
วัดควนใน ตั้งอยู่ที่บ้านควน หมู่ที่ ๓ ต าบลควน สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๐๘๙ ภายในวัดมี
ศิลปกรรมที่ส าคัญๆ เช่น จิตกรรมฝาผนังอุโบสถเป็นภาพเขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติและทศชาติ
แหล่งงานจิตรกรรม
๑. จิตรกรรมบนเรือกอและ ลวดลายที่น ามาตกแต่งบนเรือกอและได้แก่ลวดลายไทย เช่น ลวดลายที่
น ามาตกแต่งบนเรือกอและ ได้แก่ ลวดลายไทย เช่น ลวดลายกระจัง ลวดลายดอกพุดตาน เป็นต้น
๒. จิตรกรรมฝาผนังวัดควนใน วัดควนในตั้งอยู่ต าบลบ้านควน อ าเภอปานาเระ จิตรกรรมฝาผนังที่
วัดควนใน มี ๒ แห่ง คือ ที่อุโบสถ และที่กุฏิ
๓. จิตรกรรมฝาผนังวัดเทพนิมิต ตั้งอยู่ต าบลบ้านกลาง อ าเภอปานาเระ
๔. จิตรกรรมฝาผนังวัดปทุมวารี ตั้งอยู่ที่ต าบลเตราะบอน อ าเภอสายบุรี
๕. จิตรกรรมฝาผนังวัดหงสาราม (วัดท่าข้ามหรือวัดใหม่) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ต าบลท่าข้าม อ าเภอปานาเระ
แหล่งงานประติมากรรม
ปืนพญาตานี เป็นปืนใหญ่โบราณหล่อด้วยส าริด ขนาดของปืนยาว ๓ วา ๑ ศอก ๒.๕ นิ้ว ป๎จจุบัน
ตั้งอยู่ที่หน้ากระทรวงกลาโหม
การละเล่นพื้นบ้าน นาฎศิลป์ และดนตรี
รองเง็ง มีวัฒนาการมาจากการเต้นร าพื้นเมืองของ
ชาวเสปนหรือโปรตุเกส ซึ่งน ามาแสดงในแหลมมลายู
เมื่อคราวที่ได้มาติดต่อท าการค้า จากนั้นชาวมลายูพื้นเมือง
ได้ดัดแปลงเป็นการแสดงที่เรียกว่า “รองเง็ง” ส าหรับ
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการเต้นรองเง็งมาเป็นเวลาช้านาน
ตั้งแต่สมัยก่อนการยกเลิกการปกครอง ๗ หัวเมืองโดยที่
นิยมเต้นกันเฉพาะในวังของเจ้าเมือง ฝุายชายที่ได้รับการ
เชิญเข้าร่วมงานรื่นเริงในวังจับคู่เต้นกับฝุายหญิงซึ่งเป็นบริวารในวังและมีหน้าที่เต้นร็องเง็งได้แพร่หลายไปสู่
ชาวบ้านโดยที่ใช้เป็นรายการสลับฉากของมะโย่ง ซึ่งมุ่งแต่ความสนุกสานและเงินรายได้เป็นส าคัญไม่รักษา
แบบฉบับที่สวยงามซ้ ายังเอาจังหวะเต้นร าอื่น ๆ เช่น รุมบ้า แซมบ้าน ฯลฯ เข้าไปปะปนด้วย ท าให้คนที่เคย
เต้นรองเง็งมาแต่เดิมมองเห็นว่า รองเง็งได้เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี จึงพากันเสื่อมความนิยมไปชั่วระยะหนึ่ง
ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้มีการรื้อฟื้นรองเง็งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยท่านขุนจารุวิเศษศึกษาการ
ศึกษาธิการอ าเภอเมืองป๎ตตานี ได้น าเพลง รองเง็งดั้งเดิม ๒ เพลง คือ ลากูดูวอและเมาะอีนังชวามาปรับปรุง
ท่าเต้นขึ้นจากรองเง็งของเดิม เพื่อแสดงในงานปิดอบรมศึกษาภาคฤดูร้อนของคณะครูจังหวัดป๎ตตานี
ปรากฏว่ารองเง็งกลายเป็นที่แปลกใหม่ และได้รับความสนใจจากคนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง อีกครั้งหนึ่ง
ต่อมาสมาคมงัต สมาคมของชาวมุสลิมในจังหวัดป๎ตตานีซึ่งติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างป๎ตตานี-กลันตัน
มาเลเซียอยู่เสมอ ได้น าเอาเพลงจินตาซายัง ปูโจ๊ะปีชัง เลนัง ฯลฯ เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ท าให้เพลงรองเง็ง
มีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีผู้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและประดิษฐ์ดัดแปลงท่าเต้นขึ้นใหม่ เช่น จากท่าเดิน
ของหนังตะลุง และท่าร าของไทยท าให้เพลงรองเง็งมีเพิ่มมากขึ้นซึ่งรวบรวมได้ถึง ๑๓ เพลง
เพลงที่ใช้ มีอยู่ ๑๓ เพลง คือ ลากูดูวอ จินตาซายัง เมาะอีนังลามา อาเนาดิดิ๊ ดึนดังซายัง
บุหงาร าไปหรือรุมบ้ารองเง็ง มาสแมระห์ จินโยดี วักตูมาลีม ฮารี เลนนัง เมาะอินังบารู เมาะอินังแลเงาะ
และเมาะอินังชวา แต่ป๎จจุบันนี้ที่ปรากฏว่ายังมีการเต้นอยู่เพียง ๘ เพลง คือ ลากูดูวอ เลนนัง ปูโจ๊ะปีซัง
สรุปผลการด าเนินงานของส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ประจ าปี ๒๕๖๑ 30