Page 51 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 51
3. ด้ำนเศรษฐกิจ ต้องช่วยกันเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยยึดหลักความพออยู่ พอกิน พอใช้ สมควรตาม
อัตภาพของตนตามพระราชด ารัส ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า “...หำกพวกเรำ
ร่วมมือร่วมใจกันท ำ สักหนึ่งในสี่ ประเทศชำติของเรำก็สำมำรถรอดพ้นจำกวิกฤตได้”
4. ด้ำนเทคโนโลยี เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีที่น ามาใช้จึงมีทั้งดีและไม่ดี ซึ่งต้องแยกแยะ
ตามพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น เลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการสภาพแวดล้อม
ควรช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองให้สอดคล้องกับความต้องการและ
สภาพแวดล้อม นอกจากนี้ควรช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีจาก ภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองให้สอดคล้องและ
เป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนด้วย
5. ด้ำนทรัพยำกรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการทรัพยากรอย่างชาญฉลาด และรอบคอบ
หาทางเพิ่มมูลค่าโดยยึดหลักของความยั่งยืน และที่ส าคัญควรใช้ทรัพยากรที่อยู่ในประเทศเพื่อพัฒนาประเทศ
ให้มั่นคงเป็นขั้นเป็นตอนไป
กำรน ำเศรษฐกิจพอเพียงมำประพฤติปฏิบัติ
การน าเศรษฐกิจพอเพียงมาประพฤติปฏิบัติแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับบุคคลและครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ในลักษณะพึ่งพา ตนเองได้อย่างมี
ความสุขทั้งกายและใจ สามารถด าเนินชีวิตได้โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ด้วยความถูกต้องและสุจริต
เช่น การด ารงชีพโดยยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้ ประหยัด ลดความฟุ่มเฟือย การประกอบอาชีพด้วยความ
ถูกต้องและสจริต
2. ระดับชุมชนและธุรกิจ เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกของแต่ละครอบครัวในชุมชน มีความพอเพียงในระดับ
ครอบครัวก่อนที่จะรู้จัก รวมกลุ่มท าประโยชน์เพื่อส่วนรวม เช่น การใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตต่างๆ
อย่าง ประหยัดและมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ไม่เอาเปรียบผู้จ าหน่ายวัตถุดิบ
3. ระดับสังคมและประเทศ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของชุมชนหลายๆแห่ง ที่มีความพอเพียงมาร่วมกัน
แลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอด ภูมิปัญญา และร่วมกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างเป็น
เครือข่ายเชื่อมโยง ระหว่างชุมชนให้เกิดเป็นสังคมแห่งความพอเพียง โดยยึดหลักคุณธรรมเป็นส าคัญ เช่น
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กัน ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกาและ
ในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน