Page 54 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 54

กำรพึ่งพำอำศัยกันและกันและกำรแข่งขันทำงเศรษฐกิจ





                       มนุษย์มีความต้องการปัจจัยที่จ าเป็นในการด ารงชีวิตและต้องการสิ่งอ านวยความสะดวกอื่นๆ
               มากมาย แต่มนุษย์แต่ละคนไม่สามารถที่จะสร้างปัจจัยในการด ารงชีวิตและสิ่งอ านวยความสะดวกต่างๆ ให้

               ครบตามความต้องการของตนเองได้ มนุษย์จึงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมมีการแบ่งบทบาทและหน้าที่กัน ต้องพึ่งพา

               อาศัยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สังคมมนุษย์เป็นสังคมขนาดใหญ่ มีคนอยู่ร่วมกันในสังคมจ านวนมาก ความต้องการ

               ปัจจัยในการด ารงชีวิตมนุษย์และต้องการสิ่งอ านวยความสะดวกย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ทรัพยากร

               มีจ ากัด ดังนั้นมนุษย์จึงต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิต

               การบริโภค และการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ แต่ในขณะเดียวกันการด าเนินกิจกรรมทางธุรกิจก็จะมีการ

               แข่งขันทางธุรกิจในรูปแบบต่างๆ ด้วย


               กำรพึ่งพำอำศัยกัน


                       ในการด ารงชีวิตมนุษย์มีความจ าเป็นต้องใช้สิ่งของ เครื่องใช้ที่จ าเป็นมากมายหลายอย่าง เช่น อาหาร
               เสื้อผ้า ยารักษาโรค ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ จาน ชาม ช้อน หากสามารถผลิตเองได้ทุกอย่าง ความจ าเป็นที่จะต้องน า

               สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งไปแลกกับสินค้าอีกชนิดหนึ่งก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์แต่ละคน

               ต้องการสินค้าแตกต่างกัน รวมทั้งมีความสามารถและ ความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าและบริการต่างกัน อีก

               ทั้งทรัพยากรที่จะน ามาผลิตเป็นสินค้า และบริการในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน มนุษย์จึงพยายามหาหนทางที่จะ

               น าสินค้าและบริการมาตอบสนองความต้องการของตนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ คนในสังคมจึงต้องพึ่งพา

               อาศัยซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ในด้านเศรษฐกิจก็มีการพึ่งพากัน ค าว่า พึ่งพา พจนานุกรมฉบับ

               ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้อธิบายความหมายไว้ว่า อาศัยกันช่วยเหลือกัน


                       กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันล้วนต้องพึ่งพาอาศัยกันมาโดยตลอด
               ลักษณะเศรษฐกิจในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ หรือ

               เศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง (self-sufficient economy) กิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร

               เป็นส าคัญ เป็นการท ามาหากินภายในครัวเรือนเป็นการพึ่งพากันในครัวเรือน คนในครัวเรือนจะช่วยกันท านา

               ท าสวน ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคกันเอง ภายในครัวเรือน หากต้องการเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มก็จะปลูกฝ้ายหรือ

               เลี้ยงไหมเพื่อน ามาทอเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม หากต้องการใช้กระบุงหรือตะกร้าก็จะน าไม้ไผ่มาจักสาน ส าหรับใช้

               ในครัวเรือนของตนเอง คนในสมัยก่อนมักจะพึ่งพาตนเองเป็นส าคัญ รวมถึงมีการช่วยเหลือกันในชุมชน เช่น ใน

               การท านา แต่ละครอบครัวมักมีแรงงานไม่พอที่จะด านาหรือเกี่ยวข้าวให้ได้ทัน จึงต้องพึ่งพาแรงงานจากเพื่อน
               บ้านในลักษณะของการลงแขก โดยคนในชุมชนจะรวมกันไปช่วยด านาหรือ เกี่ยวข้าวของครอบครัวใด

               ครอบครัวหนึ่งให้เสร็จ แล้วไปช่วยด านาหรือเกี่ยวข้าวของครอบครัวต่อไปจนเสร็จทุกครอบครัว นับเป็นการ
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59