Page 25 - คู่มืออบรม Smart ONIE เพื่อสร้าง Smart Farmer เพื่อฝึกอบรมเกษตรกรต้นแบบ ( Master Trainer) สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ
P. 25

2. การจัดจ าหน่าย (Place or Distribution)
                             คือ การจัดจําหน่ายแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ ช่องทางจําหน่ายสินค้า  เช่น พ่อค้าส่ง พ่อค้า

                ปลีก และตัวแทนคนกลาง และการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค หรือการเลือกใช้วิธีการขนส่งที่เหมาะสมได้แก่ การ

                ขนส่งทางอากาศ ทางรถยนต์ ทางรถไฟ ทางเรือ และทางท่อ ผู้ทําธุรกิจต้องคํานึงว่าจะเลือกใช้ช่องทางใดถึงจะดี

                ที่สุด โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ําและสินค้านั นไปถึงลูกค้าทันเวลา


                        3. การก าหนดราคา (Price)
                            คือ การกําหนดราคาที่เหมาะสมให้กับผลิตภัณฑ์ที่จะนําไปเสนอขายก่อนที่จะกําหนดราคาสินค้า

                ธุรกิจต้องมีเป้าหมายว่าจะตั งราคาเพื่อต้องการกําไร หรือเพื่อขยายส่วนถือครองตลาด หรือเพื่อเป้าหมายอย่างอื่น

                อีกทั งต้องมีการใช้กลยุทธ์ในการตั งราคาที่จะทําให้เกิดการยอมรับจากตลาดเป้าหมายและสู้กับคู่แข่งขันได้ในการ
                แข่งขัน  กลยุทธ์ราคาเป็นเครื่องมือที่คู่แข่งขันนํามาใช้ได้ผลรวดเร็วกว่าปัจจัยอื่นๆ เช่น การลดราคา


                กำรตลำดสินค้ำเกษตร
                         การตลาดสินค้าเกษตรเริ่มต้นจากแหล่งผลิต (Farm) ด้วยการวางแผนการผลิตให้ตรงตามลักษณะ

                ความต้องการของผู้บริโภคและความต้องการของตลาด จบด้วยการจําหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค /ผู้ใช้ ทั งนี มี

                กระบวนการทางการตลาดเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค   เพื่อให้เกิดความพึงพอใจหรือ

                ตอบสนองอรรถประโยชน์ใน 4 ด้าน คือ
                          1.รูปแบบ (Form Utility) เป็นการสร้างประโยชน์หรือความพึงพอใจอันเนื่องจากการแปรรูปของ

                ปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบเพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการในรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของ

                ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เช่น การแปรรูปจากยางพาราเป็นยางรถยนต์ จากแป้งสาลีเป็นขนมประเภทต่างๆ

                จากเม็ดพลาสติกเป็นอุปกรณ์พลาสติก จากเหล็กและไม้เป็นเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

                          2.สถำนที่ (Place Utility) เป็นการสร้างประโยชน์หรือความพึงพอใจอันเนื่องจากการเคลื่อนย้าย
                สินค้า หรือปัจจัยการผลิตต่างๆจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างทั่วถึง

                ได้แก่ การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตมายังร้านค้าส่ง จากร้านค้าส่งมายังร้านค้าปลีก และจากร้านค้าปลีกมายัง

                ผู้บริโภค หรือการขนส่งผู้โดยสารจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง

                          3.เวลำ (Time Utility) เป็นการสร้างประโยชน์หรือความพึงพอใจอันเนื่องจากการแปรรูปปัจจัยการ

               ผลิตหรือ สินค้าและบริการให้มีอายุการใช้งาน นานขึ น หรือให้ทันกับความต้องการใช้ของผู้บริโภค เช่น การถนอม
               อาหารเพื่อให้สามารถเก็บอาหารนั นไว้บริโภคได้นานๆ การเสนอข่าวที่ทันต่อเหตุการณ์ของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ

               การผลิตสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับฤดูกาล เช่น ในฤดูร้อนควรมีการผลิตน ําแข็งมากขึ น หรือในฤดูฝนควรมี

               การผลิต ร่มเพิ่มขึ น เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการที่สูงขึ นในขณะนั นๆ





                                                             -20-
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30