Page 30 - คู่มืออบรม Smart ONIE เพื่อสร้าง Smart Farmer เพื่อฝึกอบรมเกษตรกรต้นแบบ ( Master Trainer) สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ
P. 30
Big Data ด้ำนกำรเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดําเนินการจัดทํา Big data ด้านการเกษตร 4 กลุ่มหลัก ได้แก่
1. ด้ำนข้อมูลเกษตรกรและสถำบันเกษตรกร ได้แก่ ข้อมูลการขึ นทะเบียนเกษตรกร
ข้อมูลสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร มีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
2. ด้ำนข้อมูลสินค้ำเกษตร ได้แก่ ข้อมูลด้านการผลิตสินค้าเกษตร มี สศก. เป็นหน่วยงาน
รับผิดชอบหลัก
3. ด้ำนข้อมูลและพื้นที่เกษตรกรรม ได้แก่ ข้อมูลความเหมาะสมการใช้ที่ดิน ข้อมูลการใช้ที่ดิน
มีกรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
4. ด้ำนข้อมูลน ้ำและกำรชลประทำน ได้แก่ ข้อมูลแหล่งน ํา ปริมาณน ํา ซึ่งมีกรมชลประทานเป็น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
และในปีพ.ศ. 2561 ได้เพิ่มข้อมูลข้อมูลการปลูกพืชทั่วประเทศ ประกอบด้วย
1.ระบบการจัดเก็บและรายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืชระดับตําบล (รต.) ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
การเกษตรประจําตําบล ต้องจัดเก็บและรายงานการผลิตพืชเป็นประจําทุกเดือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มพืช คือ
กลุ่มพืชอายุสั น ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพรและเครื่องเทศที่มีอายุสั น กลุ่มพืชอายุยาว
ได้แก่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น สมุนไพรและเครื่องเทศที่มีอายุยาว และกลุ่มแมลงเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีการจัดเก็บข้อมูล
ทั่วประเทศรวม 468 ชนิดพืช 866 พันธุ์พืช
2.ระบบรายงานการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีการจัดเก็บและรายงาน
ข้อมูลพืชฤดูแล้งรายสัปดาห์ เฉพาะในพื นที่นอกเขตชลประทาน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าวรอบ 2 ได้แก่ ข้าวเจ้า
ข้าวหอมปทุม ข้าวเหนียว กลุ่มพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี ยงสัตว์ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง พืชไร่อื่นๆ และ
กลุ่มพืชผัก ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน พืชผักอื่นๆ
โดย Big Data ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นการบริหารจัดการฐานข้อมูลภาคการเกษตรของประเทศ
ผ่านเทคโนโลยีมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน นําเสนอข้อมูลแก่ผู้ใช้ให้เข้าใจง่ายในการนําไปใช้ประโยชน์
เพื่อเตรียมการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอนาคต
-25-