Page 46 - หนังสืออนุสรณ์อบรมบาลีก่อนสอบ คณะสงฆ์ภาค ๑๔ พ.ศ. ๒๕๖๓.
P. 46

เรียนวิชาแปลมคธเป็นไทยมาแล้ว  เพียงแต่ต้องให้เป็นไปตามหลักบาลีไวยากรณ์  และนึกไว้

           ในใจเสมอว่า ประธานอยู่หน้า  กิริยาอยู่ท้าย  ตัวขยายอยู่หน้าตัวที่ถูกขยาย  ลดหลั่นกัน
           ไปตามลําดับ  นึกไว้แค่นี้แล้วก็ดูหนังสือธรรมบท  ที่เคยศึกษาเล่าเรียนมาตั้งแต่ประโยค ๑-๒

           และประโยค ป.ธ.๓ จะเห็นได้ว่า การศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลีตามหลักสูตรจะวนไปวนมาอยู่
           อย่างนั้น  เพียงแต่ต้องทำาความเข้าใจกับภาษาบาลี และภาษาบาลีนี้ ยังมีเสน่ห์ชวนให้อยาก

           ศึกษาเรียนรู้ยิ่งขึ้น ลองดูตัวอย่าง เช่น อ การันต์ในปุงลิงค์ แจกอย่าง ปุริส ในปฐมาวิภัตติ ปุริโส
           ศัพท์เดิมคือ ปุริส ลง สิ วิภัตติ เอา อะ กับ สิ เป็น โอ (เอา อะ ที่ ปุริสะ กับ สิ วิภัตติ เป็น โอ)

           สำาเร็จรูปเป็น ปุริโส เป็นต้น ทำาไมไม่บอกว่า ปุริส ลง โอ สำาเร็จรูปเป็น ปุริโส อันว่าบุรุษ เพียง
           แค่นี้นักศึกษาบาลี  ย่อมรู้ได้ว่ามีความลึกซึ้งเพียงใด  ซึ่งเป็นลีลาของภาษาและในการศึกษา

           ภาษาบาลีนั้น  ถ้าจะเทียบกันระหว่างพระภิกษุสามเณรที่มีปัญญาดีและมีปัญญาน้อยกว่า  ผู้

           ที่มีปัญญาดีดูหนังสือเพียงครั้งสองครั้งก็จำาได้ดี  แต่ผู้ที่มีปัญญาน้อยกว่า  ต้องดูหนังสือหลาย
           ครั้งกว่าจะจำาได้ ขอให้พระภิกษุสามเณรทุกรูป นึกไว้ในใจว่า

                  การดูหนังสือนั้น  เป็นการแสวงหาความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย  มีความ
           สุขที่เกิดขึ้นในขณะแสวงหาความรู้  ความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน  คือการเรียนมากกว่าการ

           สอน  ซึ่งการสอนเป็นสิ่งที่ผู้อื่นมาบอกกับเรา  แต่การเรียนเป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
           เป็นความรู้ที่ยั่งยืนมากกว่า  ถ้าเมื่อได้เข้าสู่ระบบการศึกษาและผ่านขบวนการศึกษาแล้ว  ก็

           จะมีทักษะชีวิตเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ
                  ขอนำาเคล็ดลับวิธีการจดจำาและทำาความเข้าใจในการเรียนบาลีมาเป็นแนวทางดังนี้

                  ๑)  ในขณะที่อ่าน ให้อ่านอย่างตั้งใจ และทำาความเข้าใจในเนื้อหาสาระ สามารถ
                    อธิบายให้ตัวเองฟังได้ด้วยสำานวนภาษาของตนเอง

                  ๒)  เมื่ออ่านจบแล้วโดยกำาหนดวรรคตอนสัก ๑ หน้า แล้วพยายามนึกถึงเรื่องราวใน

                    วรรคตอนนั้นๆ ทำาความเข้าใจ
                  ๓)  ทบทวนในวรรคตอนนั้นๆ แล้วท่องให้จดจำา เพราะได้ทำาความเข้าใจในเนื้อหาสา

                    ระนั้นๆ มาแล้ว
                  เพียง ๓ ข้อนี้ ก็เป็นแนวทางให้การเรียนสามารถที่จะประสบความสำาเร็จได้ เพราะ

           ฉะนั้น ผู้ที่รู้ตัวเองว่ามีปัญญาน้อยกว่าผู้อื่นต้องใช้ความพยายามมากขึ้นตามหลักอิทธิบาท ๔
           คือ  ฉันทะ  ความพอใจในการศึกษาเล่าเรียน  วิริยะ  ความพากเพียรในการศึกษา  จิตตะ

           ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในการศึกษา วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในการศึกษา





                                                  20

                                   อบรมบาลีก่อนสอบ คณะสงฆ์ภาค ๑๔ ปีที่ ๔๖
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51