Page 47 - หนังสืออนุสรณ์อบรมบาลีก่อนสอบ คณะสงฆ์ภาค ๑๔ พ.ศ. ๒๕๖๓.
P. 47

ชีวิตของคนเรามีหลายด่านที่จะต้องผ่าน ในการผ่านนั้นด่านที่สำาคัญที่สุดคือการผ่านด่านด้าน

               จิตใจของตนเอง ต้องเข้มแข็ง ต้องใจสู้ หากหมดแรงและหมดใจเสียตั้งแต่ด่านแรกแล้ว ด่าน

               ต่อไปก็ผ่านไม่ได้  ไม่ควรประพฤติอย่างกิ้งก่า  ที่มีปกติวิ่งไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็หยุดพักมอง
               ซ้ายมองขวา แล้วจึงวิ่งต่อไป เพราะฉะนั้น ความเพียรพยายามควรให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จะ

               เห็นได้ว่าชีวิตของมนุษย์นั้นมีเวลาเท่ากัน  ขึ้นอยู่ว่าใครจะจัดเวลาให้แก่ตัวเองตรงตามฐานะ
               ตามหน้าที่มากน้อยเพียงไร  ในการศึกษาภาษาบาลี  ก็ต้องจัดเวลาของแต่ละรูปให้เหมาะแก่

               วิชา  เช่น ประโยค ๑ – ๒ วิชาบาลีไวยากรณ์นั้น  ท่องกันมาตั้งแต่บาลีไวยากรณ์ชั้นต้น  พอ
               มาเรียนแปลมคธเป็นไทย ในชั้นประโยค ๑ – ๒ ก็ต้องท่องบาลีไวยากรณ์ด้วย พอผ่านไป  ๒

               วัน หรือ ๓ วัน ก็ต้องทบทวนบาลีไวยากรณ์ด้วย  แล้วก็หัดแปลมคธเป็นไทยไปด้วย  ประโยค
               ป.ธ.๓ ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรละเลยวิชาบาลีไวยากรณ์ ควรแบ่งเวลาแต่ละวิชาให้เท่ากัน  เพียง

               แต่ว่า บาลีไวยากรณ์นั้นเคยศึกษามาแล้ว  ก็คงเพิ่มวิชาสัมพันธ์ไทยเข้ามา  ส่วนแปลมคธเป็น
               ไทยก็เคยแปลมาแล้ว  ก็มีลักษณะการเดินประโยคเหมือนกัน  เพียงแต่จะมีประโยคบาลีและ

               คำาศัพท์เปลี่ยนไปบ้าง  อันนี้ก็ต้องเพิ่มความจำาเข้ามา  พอถึงประโยค ป.ธ.๔ คงเหลือเพียง ๒

               วิชา  คือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ  และวิชาแปลมคธเป็นไทย  ก็เรียนตามหลักสูตรซึ่งวนกันอยู่
               อย่างนี้  จนถึงประโยค ป.ธ.๕ เรียนกันอยู่ในหนังสือธรรมบทภาค ๑ ถึง ภาค ๔ เรียนซ้ำาไปซ้ำา

               มาโดยตลอด ขอแนะนำาว่า  การศึกษาภาษาบาลีตามหลักสูตรทั้งหมดนี้ต้องใช้ความจำา ต้อง
               มีความอดทนและความพยายามเป็นพิเศษ ดังคำาที่นักปราชญ์กล่าวไว้ว่า “ไม่สูงต้องเขย่ง ไม่

               เก่งต้องขยัน เจอปัญหาต้องฝ่าฟัน เจอแรงกดดันต้องกล้าชน เพราะชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน
               จงทําทุกฉากทุกตอนด้วยหัวใจ เพราะวันเวลาย้อนกลับมาไม่ได้ จงรักษาสิ่งข้างกายไว้ให้

               ดี” และว่า “อัจฉริยะเกิดจากแรงบันดาลใจ เพียง ๑ เปอร์เซ็นต์และอีก ๙๙ เปอร์เซ็นต์
               คือความอุตสาหะ  เหมือนอย่างที่พระภิกษุสามเณรมาอบรมบาลีก่อนสอบ  เมื่อเจอปัญหาก็

               ต้องแก้ปัญหาให้ได้  ปัญหาที่ออกเป็นข้อสอบจะเป็นวิชาใดก็ตาม ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบ
               เสียก่อนจึงค่อยลงมือทำา และทำาด้วยความตั้งใจเคียงคู่กับความพยายาม  ดังพระพุทธวจนะ

               ที่ว่า วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา  เกิดเป็นคน ต้องพยายามอยู่ร่ําไป จนกว่า

               จะประสบความสําเร็จ และว่า โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ
               อารภโต ทฬฺหํฯ “ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารภความ

               เพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น”
                      พระเถระ  พระวิทยากรทั้งหลาย  ที่มานั่งอยู่ในที่นี้ก็ประสบความสำาเร็จในการศึกษา

               ภาษาบาลีเกือบทุกรูป เป็นแบบอย่างให้พระภิกษุสามเณรที่เข้าอบรมบาลีก่อนสอบได้รู้ได้เห็น



                                                      21

                                         วัดไร่ขิง พระอารามหลวง  จังหวัดนครปฐม
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52