Page 53 - วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
P. 53
53
กับเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มนิวเคลียสและกอลจิบอดีด้วย ภายในท่อมีของเหลวซึ่งเรียกว่า ไฮยาโลพลาสซึม
(Hyaloplasm) บรรจุอยู่
เอนโดพลาสมิเรติคูลัมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
2.1) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดเรียบ (Smooth endoplasmic reticulum : SER) เป็น
ชนิดที่ไม่มีไรโบโซมเกาะ มีหน้าที่ส าคัญคือล าเลียงสารต่างๆ เช่น RNA ลิพิตโปรตีนสังเคราะห์สารพวก
ไขมัน และสเตอรอยด์ฮอร์โมน นอกจากนี้ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดเรียบในเซลล์ตับ ยังช่วยในการ
ก าจัดสารพิษบางอย่างอีกด้วย
2.2) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ (Rough endoplasmic reticulum : RER) เป็น
ชนิดที่มีไรโบโซม (Ribosome) มาเกาะที่ผิวด้านนอก มีหน้าที่ส าคัญคือ การสังเคราะห์ โปรตีนของไรโบ
โซมที่เกาะอยู่ และล าเลียงสารซึ่งได้แก่โปรตีนที่สร้างได้ และสารอื่นๆ เช่น ลิพิด ชนิดต่างๆ
3) กอลจิบอดี (Golgi body) มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันหลายอย่างคือ กอลจิคอมเพลกซ์
(Golgi complex) กอลจิแอพพาราตัส (Golgi apparatus) ดิกไทโอโซม (Dictyosome) มีรูปร่างลักษณะเป็นถุง
แบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีจ านวนไม่แน่นอน โดยทั่วไปจะพบในเซลล์สัตว์ที่มีกระดูกสัน
หลังมากกว่าในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ส าคัญ คือ เก็บสะสมสารที่เซลล์สร้างขึ้น ก่อนที่จะปล่อย
ออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่เป็นสารโปรตีน มีการจัดเรียงตัวหรือจัดสภาพใหม่ ให้เหมาะกับสภาพของ
การใช้งาน กอลจิบอดีเกี่ยวข้องกับการสร้างอะโครโซม (Acrosome) ซึ่งอยู่ที่ ส่วนหัวของสเปิร์มโดยท า
หน้าที่เจาะไข่เมื่อเกิดปฏิสนธิ นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับการสร้างเนมาโทซีส (Nematocyst) ของไฮดราอีกด้วย
4) ไลโซโซม (Lysosome) เป็ นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้มเพียงชั้นเดียว
พบครั้งแรกโดยคริสเตียน เดอ ดูฟ (Christain de Duve) รูปร่างวงรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
0.15-0.8 ไมครอน พบเฉพาะในเซลล์สัตว์เท่านั้น โดยพบมากในฟาโกไทซิกเซลล์ (Phagocytic cell)
เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว และ เซลล์ในระบบเรติคูโลแอนโดทีเลียล (Reticuloendothelial system)
เช่น ตับ ม้าม นอกจากนี้ยังพบไลโซโซมจ านวนมากในเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีการสลายตัวเอง
เช่น เซลล์ส่วนหางของลูกอ๊อด เป็นต้น ไลโซโซมมีเอนไซม์หลายชนิด จึงสามารถย่อยสสารต่างๆ
ภายในเซลล์ได้ดี จึงมีหน้าที่ส าคัญ 4 ประการคือ
1. ย่อยสลายอนุภาคและโมเลกุลของสารอาหารภายในเซลล์
2. ย่อยหรือท าลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างการหรือเซลล์ เช่น เซลล์เม็ดเลือด
ขาวกิน และย่อยสลายเซลล์แบคทีเรีย
3. ท าลายเซลล์ที่ตายแล้ว หรือ เซลล์ที่มีอายุมากโดยเยื่อของไลโซโซมจะฉีกขาดได้ง่าย แล้วปล่อย
เอนไซม์ออกมาย่อยสลายเซลล์ดังกล่าว
4. ย่อยสลายโครงสร้างต่างๆ ของเซลล์ในระยะที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงและ มีเมตามอร์โฟซีส
(Metamorphosis) เช่น ในเซลล์ส่วนหางของลูกอ๊อด