Page 56 - วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
P. 56

56


                   กับการผลิตลาเทกซ์ในพืชชั้นสูง และเซลล์ของราที่เส้นใยไม่มีผนังกั้นจะมีหลายนิวเคลียส เซลล์เม็ดเลือด

                   แดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน ้านม และเซลล์ซีฟทิวบ์ของโฟลเอมที่แก่เต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส นิวเคลียสมี
                   ความส าคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม จึงมีหน้าที่ควบคุมการท างานของเซลล์ โดยท างานร่วมกับ

                   ไซโทพลาสซึม

                          สารประกอบทางเคมีของนิวเคลียส ประกอบด้วย

                          1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก แอซิด (Deoxyribonucleic  acid)  หรือ DNA  เป็นส่วนประกอบของ
                   โครโมโซมในนิวเคลียส

                          2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด (Ribonucleic  acid)  หรือ RNA  เป็นส่วนที่พบในนิวเคลียสโดยเป็น

                   ส่วนประกอบของนิวคลีโอลัส

                          3.  โปรตีน ที่ส าคัญคือ โปรตีนฮีสโตน (Histone) โปรตีนโพรตามีน (Protamine) ซึ่งเป็นโปรตีนเบส
                   (Basic  protein)  ท าหน้าที่เชื่อมเกาะอยู่กับ DNA  ส่วนโปรตีนเอนไซม์ส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ ใน

                   กระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก และเอนไซม์ในกระบวนการไกล

                   โคไล ซีส  ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างพลังงานให้กับนิวเคลียส
                          โครงสร้างของนิวเคลียสประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

                          1.  เยื่อหุ้มเซลล์ (Nulear  membrane)  เป็นเยื่อบางๆ 2 ชั้น เรียงซ้อนกัน ที่เยื่อนี้จะมีรู

                   เรียกว่านิวเคลียร์พอร์  (Nuclear pore) หรือ แอนนูลัส(Annulus)  มากมาย รูเหล่านี้ท าหน้าที่เป็นทางผ่านของ

                   สารต่างๆ ระหว่างไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส นอกจากนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียสยังมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่าน
                   เช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์  เยื่อหุ้มนิวเคลียสชั้นนอกจะติดต่อกับเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมและมีไรโบโซม มา

                   เกาะเพื่อท าหน้าที่ล าเลียงสารต่าง ๆ ระหว่างนิวเคลียสและไซโทพลาสซึมด้วย

                          2.   โครมาทิน (Chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี เป็นเส้นในเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห

                   เรียกร่างแหโครมาทิน (Chromatin network) โดยประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด และ DNA ในการย้อมสี
                   โครมาทินจะติดสีแตกต่างกัน ส่วนที่ติดสีเข้มจะเป็นส่วนที่ไม่มีจีน (Gene) อยู่เลย หรือมีก็น้อยมาก เรียกว่า

                   เฮเทอโรโครมาทิน (Heterochromatin) ส่วนที่ย้อมติดสีจาง เรียกว่า ยูโครมาทิน (Euchromatin) ซึ่งเป็นที่อยู่

                   ของจีน ในขณะที่เซลล์ก าลังแบ่งตัว ส่วนของโครโมโซมจะหดสั้นเข้าและมีลักษณะเป็นแท่งเรียกว่า
                   โครโมโซม (Chromosome)  และโครโมโซมจะจ าลองตัวเองเป็นส้นคู่ เรียกว่า โครมาทิด (Chromatid)

                   โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจ านวนแน่นอน เช่น ของคนมี 23 คู่ ( 46 แท่ง ) แมลงหวี่ 4 คู่  (8

                   แท่ง)  แมว 19 คู่ (38 แท่ง)   หมู 20 คู่ (40 แท่ง)  มะละกอ 9 คู่ (18 แท่ง)  กาแฟ 22 คู่ (44 แท่ง) โครโมโซมมี
                   หน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป

                   เช่น หมู่เลือด สีตา สีผิว ความสูง และการเกิดรูปร่างของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น

                          3. นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ค้นพบโดย

                   ฟอนตานา (Fontana)  เมี่อปี ค.ศ. 1781 (พ.ศ. 2224) นิวคลีโอลัสพบเฉพาะเซลล์ของพวกยูคาริโอตเท่านั้น
                   เซลล์อสุจิ เซลล์เม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน ้านมและเซลล์ไฟเบอร์ของกล้ามเนื้อ
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61