Page 63 - โครงการ1-10 ป๋อม
P. 63
52
“จิต”ต้องมีพื้นฐานหรือมีความต้องการในเรื่อง”ความพอเพียง”เช่นกัน เช่น จิตจะต้องมี สติ
สมาธิ และปัญญา พอเพียงในระดับหนึ่งจึงจะท าให้จิตอยู่ในภาวะปกติและพร้อมที่จะท าหน้าที่ต่อไป
ได้
ผู้ที่ไม่มี”สติ”ยอมท าอะไรขาดๆเกินๆตกๆหล่นๆ
ผู้ที่”เสียสติ”คือ ผู้ที่ขาดความยั้งคิด ควบคุมตนเองไม่ได้
ผู้ที่”สิ้นสติ”คือ ผู้ที่อยู่ในภาวะไม่รู้ตัว
ผู้ที่ไม่มี”สมาธิ”ย่อมขาดความตั้งใจและท าอะไรไม่จริงจังง
ผู้ที่ไม่มี”ปัญญา”ย่อมท าอะไรผิดพลาดและท าให้เกิดปัญหา
ดังนั้นโดยทั่วไป “จิต” จะต้องมี สติ สมาธิ แม่ปัญญาเป็นพื้นฐานและพอเพียงในระดับหนึ่งโดยทั่วไป
สามารถฝึกฝนได้ด้วยการฝึกหัดให้รู้สึกตัวอยู่เสมอว่า
ขณะนี้ก าลังท าอะไร (สติ)
ต้องท าอย่างไรและเพื่ออะไร (ปัญญา)
มีใจจดจ่อและตั้งใจท าในสิ่งนั้นๆ (สมาธิ)
หรือหากประสงค์จะฝึกฝนให้เป็นเลิศและพิเศษก็สามารถศึกษาและปฏิบัติได้ตามค าสอน
ในพระพุทธศาสนาในระดับต่างๆเป็นต้น
แม้แต่ในการฝึกฝนจิตใจในระดับของพระอริยบุคคลยังต้องมี”ความพอเพียง”และ
สอดคล้องในแต่ละระดับจึงจะสามารถบรรลุความเป็นพระอริยบุคคลได้ อย่างที่กล่าวไว้ใน
พระไตรปิฎกว่า
พระโสดาบัน เป็นผู้ที่มีศีลสมบูรณ์ สมาธิพอประมาณ ปัญญาพอประมาณ
พระสกิทาคามี เป็นผู้ที่มีศีลสมบูรณ์ สมาธิพอประมาณ ปัญญาพอประมาณ แต่ราคะ โทสะ
โมหะบางลงกว่า
พระอนาคามี เป็นผู้ที่มีศีลสมบูรณ์ สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาพอประมาณ
พระอรหันต์ เป็นผู้ที่มีศีลสมบูรณ์ สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์