Page 65 - Chom Thong
P. 65
58
รัตนโกสินทร์ หรือในช่วงเวลาไม่ยาวนานนักจึงสามารถสืบค้นข้อมูลจากเอกสารร่วมสมัย เช่น
จดหมาย หรือบันทึก ส่วนบุคคล หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย แผนที่ ดังนั้น การศึกษาเรื่องราว แตกต่าง
กันอย่างไรก็ตามหลักฐาน ต่าง ๆ ที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลของท้องถิ่น แม้จะมีอายุเก่าแก่ต่างกัน แต่
ล้วนมีความส าคัญและช่วย ให้ผู้ศึกษาเข้าใจภาพรวมของเหตุการณ์ ในท้องถิ่นที่ต้องการศึกษา ได้ดี
ยิ่งขึ้น เมื่อผู้ศึกษาสามารถ รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ศึกษา ของตน
ได้ครบถ้วนแล้วผู้ศึกษาต้อง คัดเลือก ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยการแยกแยะ เป็นหัวข้อเรื่องต่าง ๆ หรือ
บันทึกเรียงตามล าดับ เหตุการณ์ก่อน-หลัง (time-line) โดยระบุ แหล่งข้อมูลหลักฐานให้ชัดเจน
เพื่อให้สามารถอ้างอิง หรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตได้อย่างมีเหตุผล
กกกกกกก3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
การประเมินคุณค่าของหลักฐาน หลักฐานทางประวัติศาสตร์จะน ามาใช้ในการศึกษา
ค้นคว้าจะต้องผ่านการประเมินคุณค่าก่อนว่ามีความน่าเชื่อถือและมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งอีก
อย่างหนึ่งว่า “วิพากษ์วิธีการทางประวัติศาสตร์” มี 2 วิธี ได้แก่
วิธีที่ 1. การประเมินคุณค่าภายนอกหรือวิพากษ์ภายนอกโดยประเมิน หรือ วิพากษ์
จากลักษณะทั่วไปของหลักฐานนั้นว่าเป็นของจริงหรือของปลอม
วิธีที่ 2. การประเมินคุณค่าภายในหรือการวิพากษ์ภายในโดยประเมินหรือ
วิพากษ์ข้อมูลในหลักฐานว่ามีความเชื่อถือมากน้อยเพียงใดมีข้อมูลที่กล่าวหาว่าไม่ถูกต้องในการ
ประเมิน คุณค่าของหลักฐานนั้นสามารถท าพร้อมกันได้ทั้งสองวิธีซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลา
ในการศึกษา
การวิเคราะห์ การตีความ และการประเมินหลักฐาน เมื่อผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษาแล้วผู้ศึกษาต้องไต่สวนหลักฐานแต่ละชิ้นเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ
และได้รับการยอมรับมากที่สุด ด้วยการประเมินภายนอกและประเมินภายใน
การประเมินภายนอก หมายถึง การประเมิน ผู้บันทึกหลักฐานและตัวหลักฐาน
เนื่องจาก หลักฐานมีหลายประเภท และหลายลักษณะ เช่น หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ
ซึ่งเป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น หรือเกิดจากบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับ
เหตุการณ์ นั้น ๆ และหลักฐานชั้นรอง หรือหลักฐานทุติยภูมิ ซึ่งเป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นภายหลัง
เหตุการณ์ หรือ จากผู้ที่ไม่มีส่วนร่วมกับเหตุการณ์แต่ได้ศึกษาค้นคว้ารวบรวมขึ้นในภายหลัง
นอกจากนี้ยังมีหลักฐาน โบราณคดี เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์โบราณ ศิลาจารึก
วรรณกรรมโบราณ ซึ่งจ าเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นักโบราณคดี นักภาษาศาสตร์
เป็นผู้วิเคราะห์และประเมิน หลักฐานดังกล่าว
การประเมินผู้บันทึกหลักฐาน คือ การสืบค้นว่าผู้จัดท าหลักฐานคือใคร ขณะที่ท า
หลักฐานนั้นมีสถานะใด มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นหรือไม่มีจุดมุ่งหมายอย่างไรจึงจัดท า
หลักฐานขึ้น มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นแค่ไหนผู้จัดท ามีเจตนาปกป้องผลประโยชน์ หรือ
มีอคติกับเรื่องนั้น หรือไม่
การประเมินตัวหลักฐาน คือ การสืบค้นว่าตัวหลักฐานเป็นฉบับแท้ หรือฉบับคัดลอก หรือ
ฉบับพิมพ์ขึ้นภายหลัง ผ่านการช าระแก้ไขหรือไม่ใช้ภาษาหรือส านวนตามยุคสมัยหรือไม่