Page 66 - Chom Thong
P. 66
59
อนึ่ง แม้ว่าหลักฐานที่น ามาศึกษานั้นจะเป็นหลักฐานทุติยภูมิหรือ ผู้จัดท า
มีผลประโยชน์ร่วมกับเหตุการณ์นั้นก็ตามเราสามารถน ามาใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้
การประเมินภายนอกจะท าให้เรารู้จักหลักฐานนั้นอย่างแท้จริงและเป็นการประเมินความน่าเชื่อถือ
ของหลักฐานก่อนน าไปใช้วิเคราะห์เรื่องราวในอดีต
การประเมินภายใน หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ปรากฏ
ในหลักฐานกับข้อมูลจากหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ ว่าสอดคล้องกันหรือแตกต่างกันหรือไม่ ถ้าพบความ
แตกต่างต้องสืบค้นว่าเป็นเพราะสาเหตุใด ทั้งนี้อาจเกิดจากความผิดพลาดในระบบการพิมพ์ หรือเกิด
จากอคติของผู้จัดท าหลักฐาน หรือความไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงก็เป็นได้อย่างไรก็ตามหลักฐาน ทุกชิ้นที่
จะน ามาศึกษาเรื่องราวในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานชั้นปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ ก็ต้องตรวจ สอบโดย
การวิเคราะห์และประเมินหลักฐานทั้งการประเมินภายในและประเมินภายนอกโดยผู้ประเมิน
ต้องตีความหลักฐาน หรือพยายามอธิบายข้อเท็จจริงอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีความเป็นกลาง และ
ปราศจากอคติ
กกกกกกก4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล
ในขั้นตอนนี้ผู้ศึกษาต้องศึกษาข้อมูลจากหลักฐานที่ถูกประเมินค่าแล้วว่าถูกต้อง
และมีความน่าเชื่อถือ โดยทราบอย่างชัดเจนแล้วว่าหลักฐานนั้นให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์อะไรบ้าง
แล้วน าข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่ เช่น ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุของเหตุการณ์ รายละเอียด
ของเหตุการณ์ และผลของเหตุการณ์นั้นทั้งผลดีและผลเสียจากนั้นผู้ศึกษาต้องหาความสัมพันธ์ของ
ประเด็นต่าง ๆ และตีความข้อเท็จจริงของข้อมูล โดยการน าหลักฐานที่มีความสัมพันธ์กันมาประกอบ
การศึกษาซึ่งจะช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถตีความหลักฐานได้ดียิ่งขึ้น และควรน าหลักฐานชั้นรองที่มี
ผู้ศึกษาไว้แล้วมาวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วย
การสรุปและเชื่อมโยงข้อเท็จจริง เป็นขั้นตอนของการน าข้อเท็จจริงที่ผ่าน การ
วิเคราะห์ การตีความ และการประเมิน หลักฐานแต่ละชิ้นมาประมวลหรือเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สามารถอธิบาย ประเด็นศึกษาที่ตั้งไว้ในข้อ 1 การสรุปข้อเท็จจริงนั้นผู้ศึกษา
ต้องรวบรวมจากหลักฐาน ที่หลากหลาย พยายามเข้าใจความคิดของผู้คนในยุคนั้น โดยไม่ใช้ค่านิยม
ของตนเองไปตัดสินพฤติกรรมของคนในอดีต
กกกกกกก5. การเรียบเรียงและการน าเสนอ
การเรียบเรียงและการน าเสนอจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมี
ความส าคัญมากโดยผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องน าข้อมูลทั้งหมดมารวบรวมและเรียบเรียงพร้อม
น าเสนอให้ตรงกับประเด็นหรือหัวเรื่องที่ตนเองสงสัยต้องการอยากรู้เพิ่มเติม ทั้งจากความรู้เดิมและ
ความรู้ใหม่รวมไปถึงความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ซึ่งเท่ากับเป็นการรื้อฟื้นหรือจ าลอง
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่อย่างถูกต้องและเป็นกลาง
ในขั้นตอนการน าเสนอ ผู้ศึกษาควรอธิบายเหตุการณ์อย่างมีระบบและมีความ
สอดคล้องต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผล มีการโต้แย้งหรือสนับสนุนผลการศึกษาวิเคราะห์แต่เดิม โดย
มีข้อมูล สนับสนุน อย่างมีน้ าหนัก เป็นกลางและสรุปผลการศึกษาว่าสามารถให้ค าตอบที่ผู้ศึกษา
มีความสงสัยอยากรู้เพียงใด หรือมีข้อเสนอแนะให้ส าหรับผู้ศึกษาต่อไปอย่างไรบ้าง