Page 67 - Chom Thong
P. 67
60
การน าเสนอข้อเท็จจริง เมื่อผู้ศึกษาสามารถสรุปสาเหตุและเหตุผล ที่ท าให้เกิด
เหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต แล้วเรียบเรียงข้อเท็จจริงที่ค้นพบได้ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีความต่อเนื่อง
เป็นเหตุเป็นผลกัน วิธีการน าเสนอที่เหมาะสม เช่น การเรียงล าดับเหตุการณ์ ก่อน-หลัง เพื่อให้
เข้าใจง่ายรวมทั้งมีการวิเคราะห์และสรุปประเด็นให้ชัดเจนนอกจากนี้เมื่อมีการอ้างอิงหลักฐาน
ผู้ศึกษาจะต้องบอกที่มาของหลักฐานหรือแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
กล่าวโดยสรุป วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัดราชโอรสา
ราม ราชวรวิหาร มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การก าหนดหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา (2) การรวบรวมข้อมูล/
หลักฐาน (3) การประเมินคุณค่าของหลักฐาน (4) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล
และ(5) การเรียบเรียง และการน าเสนอ
ส าหรับการประยุกต์ใช้ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาวัดราชโอรส
งดงาม นามกระเดื่อง เคียงคู่จอมทอง ให้ครูผู้สอนแนะน าผู้เรียนในขั้นตอนการก าหนดประเด็นศึกษา
แล้วให้ไปศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล โดยผู้เรียนต้องประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ และตีความข้อมูลทาง
ประวัติศาสตร์ กับข้อมูลที่ค้นคว้าได้ ต่อจากนั้นให้ผู้เรียนคัดเลือก และประเมินข้อมูล น ามา
เปรียบเทียบ สรุปผล การศึกษาค้นคว้า และบันทึกลงในเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.)
เพื่อน าไปพบกลุ่มตามที่นัดหมายกับครูผู้สอน
เรื่องที่ 2 วิธีการศึกษาทางภูมิศาสตร์
กกกกกกก1. ก าหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษา
การศึกษาภูมิศาสตร์จะต้องอาศัยความสามารถในการตั้งค าถาม ค าถามที่ใช้ศึกษา
ในวิชาภูมิศาสตร์จะเป็นค าถามที่มีลักษณะเฉพาะโดยเป็นปัญหาเกี่ยวกับค าถามที่ถามว่าที่ไหน และ
ท าไม จึงต้องเป็นที่นั่น (where and why there) จึงเป็นสิ่งส าคัญอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องพัฒนา
และฝึกทักษะ เกี่ยวกับการตั้งค าถาม
การตั้งค าถามนั้นจะต้องเป็นค าถามที่มีความเป็นไปได้ในการหาค าตอบน ามาสู่การ
ตั้งสมมติฐานของค าตอบ และสะท้อนให้เห็นถึงแนวทาง ในการรวบรวมข้อมูล เพื่อหาค าตอบ ด้วยใน
ระดับเริ่มต้นการฝึกตั้งค าถามควรเริ่มต้นแยกค าถามทางด้านภูมิศาสตร์ ออกจากค าถามที่ทั่วไปครู
ร่วมกันตั้งค าถาม เพื่อชวนให้นักเรียนสงสัยและกระตุ้นให้เกิดค าถามต่อยอดตามมา
กกกกกกก2. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการออกปฏิบัติภาคสนามและสัมภาษณ์เมื่อนักเรียนได้
ข้อมูลแล้วก็ต้องจัดการและน าเสนอออกไปด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ ข้อมูล
เพราะข้อมูลที่ได้ อาจจะกระจัดกระจายและไม่เพียงพอนักเรียนจะต้องน าข้อมูลมาจ าแนกและจัด
กลุ่มให้อยู่ในรูปแบบ แผนภาพ แผนผัง แผนที่ และกราฟท าให้เห็นภาพสรุปที่ชัดเจน ในการจัดการ
ข้อมูลนั้น นักเรียนต้องมีความคิด สร้างสรรค์ในการออกแบบและมีวิธีการน าเสนอข้อมูลอย่างเป็น
ระบบการท าแผนที่เป็นวิธีการที่นิยมมากในการจัดการข้อมูลด้วยการเขียนข้อความหรือบันทึก
รายละเอียดจากการส ารวจ ที่ต้องการน าเสนอไว้ในแผนที่ การใช้สัญลักษณ์แสดงข้อมูลในแผนที่ เช่น
ที่ตั้งของทรัพยากร