Page 83 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 83
๘๕
ภาครัฐอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีโอกาสเข้าถึง หรือผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการเพื่อก้าวสู่ความเป็น
มหานครแห่งเอเชีย ตามวิสัยทัศน์ทีได้กำหนดไว้ ซึ่งจะเห็นได้ชัดในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 “มหานครสำหรับทุก
คน” ประเด็นยุทธศาสตร์ย่อยที่ 3.3 การศึกษาสำหรับทุกคน ซึ่งมุ่งเน้นให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึงชาว
กรุงเทพมหานครทุกคน ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย และสถานภาพอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาคสมานฉันท์
เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ได้รับโอกาสที่จะเรียนรู้พัฒนาตนเองและเข้าถึงบริการสาธารณะ ใน
ขณะเดียวกันชาวกรุงเทพมหานครแต่ละกลุ่ม แต่ละชุมชนสามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ ประเพณีวัฒนธรรม
ของตนเอง เป็นมหานครที่โดดเด่นทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ทั้งนี้ การที่จะให้ชาวกรุงเทพมหานครทุกคน ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย ได้รับโอกาสที่จะ
เรียนรู้พัฒนาตนเองและเข้าถึงบริการสาธารณะได้นั้น ปัจจัยสำคัญคือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หรือองค์ความรู้
ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย หรือการเรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเอง
โดยในปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้บริหารจัดการด้านการศึกษาและเรียนรู้เพื่อตอบสนองภารกิจด้านการจัด
การศึกษาและเรียนรู้ผ่านทางโรงเรียนในสังกัด โรงเรียนฝึกอาชีพ สำหรับผู้ที่มีเวลาและความพร้อม และจำเป็นต้อง
เข้าศึกษาในระบบ ตลอดจนเตรียมพร้อมสถานที่รวบรวมองค์ความรู้ที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ใน
หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น สื่อออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งมีการให้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สำหรับประชาชนที่
ต้องการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นบุคคลนอกระบบการศึกษาที่มีอยู่จำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคน
ื
ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากอยู่ในวัยทำงานซึ่งถอเป็นกลุ่มบุคคลที่น่าสนใจสำหรับการเรียนรู้
และให้ความสำคัญกับการพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 36 แห่ง ทั่วพื้นที่
กรุงเทพมหานคร และมีบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ จำนวน 7 คัน ซึ่งบริหารและจัดการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และ
การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ เกี่ยวกับ
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าและ
เอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา
นันทนาการ ห้องสมุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทาง
ศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์ วิจัยปัญหา
แนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านดนตรี กีฬา นันทนาการ ห้องสมุด การท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรม
ื่
ซึ่งห้องสมุดเพอการเรียนรู้ทั้ง 36 แห่ง นี่เองถือเป็นช่องทางหลักในการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่างสาร และองค์
ความรู้ต่างๆ ในการพัฒนาตนเองได้โดยไม่ต้องเข้าเรียนและศึกษาในระบบ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้
กรุงเทพมหานคร จึงเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ ทั้งในระบบและนอกระบบ และส่งเสริม
การจัดกิจกรรมเพื่อการศึกษา และวัฒนธรรมแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย โดยเปิดให้บริการ สารสนเทศทุกประเภท
ยังผลให้มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดชีวิต