Page 61 - DoiSuthep
P. 61

61





                         อนึ่ง นามของสุกกทันตะนี้ นักวิชาการด้านหริภุญไชยศึกษาหลายท่านมี

                  ความเห็นว่า น่าจะแผลงมาจากคำาว่า “สกันทา” (Skandha) หรือ “ขันทกุมาร”


                  หนึ่งในเทพปกรณัมฮินดูที่มีศักดิ์เป็นโอรสของพระศิวะ (พระอิศวร) ต้นลัทธิไศวนิกาย

                  ซึ่งเป็นอีกลัทธิหนึ่งที่แพร่หลายมากจากอินเดียสู่สุวรรณภูมิในขณะนั้น


                         ในที่สุดสหายสุกกทันตะได้ทูลเชิญพระนางจามเทวี ผู้เป็นลูกศิษย์ที่ตนสอน


                  สรรพวิชาความรู้ ณ เขาสมอคอน โดยตำานานระบุว่าพระนางจามเทวีเป็นราชธิดา

                  ละโว้ ให้ขึ้นมาครองเมืองหริภุญไชยที่สหายวาสุเทพสร้างไว้ พระนางจามเทวียินดี


                  รับคำาเชิญ จึงได้ยกขบวนนำากลุ่มชนชาวมอญจากลุ่มน้ำาเจ้าพระยาจำานวนหลายพัน

                  ชีวิตขึ้นมายังเมืองเหนือ


                          หลายท่านเชื่อว่าพระนางจามเทวีน่าจะมีเชื้อสายตระกูล “ออสโตรเอเชียติก”


                  คือกลุ่มมอญ-เขมร เมื่อขบวนเสด็จของพระนางจามเทวีจำานวนกว่า 7,500 ชีวิตต้อง

                  ขึ้นจากทางใต้สู่ขุนน้ำาทางเหนือ แน่นอนว่าย่อมสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชากร


                  ชาวลัวะที่อาศัยอยู่ก่อน ทำาให้ในที่สุดชาวลัวะเจ้าของถิ่นเก่าจำาต้องถอยร่นขึ้นหนี

                  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองหริภุญไชยไกลถึงเชิงดอยสุเทพ เป็นการหนี


                  ไปตั้งหลักในลักษณะ “พร้อมที่จะทวงแผ่นดินคืน”
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66