Page 63 - DoiSuthep
P. 63
63
ตำานานหน้าที่สอง
“ขุนหลวงวิลังคะ vs จามเทวี” “พ่ายรัก-พ่ายรบ”
ในช่วงที่พระนางจามเทวีขึ้นปกครองเมืองลำาพูนใหม่ๆ สถานการณ์ความ
ขัดแย้งระหว่างกลุ่มชน 2 ชาติพันธุ์คือ “ลัวะพื้นถิ่น” กับ “มอญผู้มาใหม่จากละโว้”
(ซึ่งกลุ่มหลังนี้ได้กลืนชาวเม็ง หรือเมงคบุตรพื้นถิ่นจนกลายพันธุ์มาเป็นมอญด้วย)
ค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ
มูลเหตุเกิดจากการที่ “ผู้มาใหม่” คือกลุ่มของพระนางจามเทวีได้นำาเอา
อารยธรรมแบบอินเดีย-ทวารวดีจากภาคกลางมาสถาปนาในดินแดนแห่งขุนน้ำา
ขุนเขา เช่น การสถาปนาพระพุทธศาสนาขึ้นแทนที่ศาสนาผีบรรพบุรุษ (Animism)
ทำาให้เกิดช่องว่างทางชนชั้น เกิดความขัดแย้งแตกแยกด้านจารีตประเพณี พิธีกรรม
ผลักไสให้กลุ่มชนดั้งเดิมที่ยังมีความเชื่อในเรื่องผีบรรพชนแทบจะไม่มีที่อยู่ที่ยืนใน
สังคม
ผู้นำาชนเผ่าลัวะนายหนึ่ง มีความกล้าปะทะสังสรรค์เผชิญหน้ากับผู้นำาที่มีความ
เจริญสูงกว่าอย่างพระนางจามเทวี เขาผู้นั้นคือ “ขุนหลวงวิลังคะ” (บางเล่มเขียน